การเสริมพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง Empowerment of People with Non-communicable Diseases to Reduce Sodium Consumption to Prevent Chronic Kidney Disease

ผู้แต่ง

  • สมจิต แดนสีแก้ว
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม
  • วาสนา รวยสูงเนิน
  • นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์
  • นพนันท์ ชัยภูมิ
  • รุ่งทิวา ขันธมูล
  • เกษม ดำนอก

คำสำคัญ:

การบริโภคโซเดียม การเสริมพลังอำนาจ โรคไตเรื้อรัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นระยะที่ 2  ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มุ่งพัฒนากระบวนการสร้างเสริมพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงเพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง ใน 7 หมู่บ้าน ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 102 คน 2) ผู้ดูแลในครอบครัว 92 คน 3) อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและผู้นำชุมชน รวม 84 คน และ 4) เจ้าหน้าที่สุขภาพ 4 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม การเสวนากลุ่มผู้ป่วย 14 ครั้ง การประชุมระดมสมองระดับหมู่บ้าน 14 ครั้ง และระดับตำบล 3 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลจากการวิจัย พบว่า ผู้ร่วมวิจัยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสะท้อนคิดเรื่องการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ร่วมระดมสมองและกำหนดวิธีการในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ดังนี้ 1) าผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงโดยปรุงอาหารรับประทานเองแทนการซื้อ 2) ลดปริมาณอาหารรสจัด 3) ลดชนิดของเครื่องปรุงรส 4) เมื่อต้องร่วมกิจกรรมสังคมต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงรสจัด 5) ชุมชนประกาศงานบุญปลอดผงชูรสเพื่อปกป้องสุขภาพผู้ป่วยและ 6) ชุมชนผลิตผงนัวจากผักพื้นบ้านแทนผงชูรส หลังดำเนินการวิจัย 6 เดือน พบว่า เครือญาติและเพื่อนบ้านของผู้ป่วยที่มาร่วมรับประทานอาหารได้สนับสนุนให้ผู้ป่วยรับประมานอาหารที่ลดปริมาณโซเดียมและแม่ค้าขายอาหารปรุงเสร็จในชุมชนหลีกเลี่ยงและลดการประกอบอาหารที่มีโซเดียมสูง การเสริมพลังอำนาจผู้ป่วยครั้งนี้จึงนำสู่การส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืนและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและผู้ดูแลต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28