คุณภาพการจัดการความปวดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังQuality of Pain Management in Women with Caesarean Section under Spinal Anaesthesia

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ
  • อำภาพร นามวงศ์พรหม
  • นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์

คำสำคัญ:

คุณภาพการจัดการความปวด การผา่ ตัดคลอดบุตรทางหนา้ ทอ้ ง การระงับความรูสึ้กทางชอ่ งไขสันหลัง Irvine nursing role effectiveness model

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการความปวดด้านกระบวนการ และด้าน
ผลลัพธ์ในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง โดยใช้โมเดลการประเมินคุณภาพทางการพยาบาลของ Irvine
และคณะ เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ดูแล
สตรีหลังผ่าตัดคลอด จำนวน 26 ราย และสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง จำนวน 91 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล
จากพยาบาลโดยใช้แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมการจัดการความปวด เก็บรวบรวมข้อมูลจากสตรีหลังผ่าตัด
คลอดโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของสตรีหลังผ่าตัดคลอดต่อการจัดการความปวดของพยาบาล และรวบรวม
ข้อมูลระดับความรุนแรงของความปวด วิธีการจัดการความปวดโดยใช้ยาและไม่ใช้ยาโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจาก
เวชระเบียนสตรีหลังผ่าตัดคลอด ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงบรรยาย  ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการจัดการความปวดโดยรวม ซึ่งรวมถึงการจัดการความปวดตามแผนการรักษา
และบทบาทการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพอยู่ในระดับดี ระดับความปวดของสตรีหลังผ่าตัดคลอดในระยะ 24, 48
และ 72 ชั่วโมง อยู่ในระดับตํ่า อย่างไรก็ตามพบว่าในระยะ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด สตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทาง
หน้าท้องมีความปวดเพิ่มขึ้นเป็นระดับปานกลาง ส่วนความพึงพอใจของสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องอยู่
ในระดับปานกลาง ( = 69.63, SD = 14.94) ซึ่งตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

This descriptive research aimed to investigate the quality of pain management regarding process and outcome in women with caesarean section. Irvine nursing role effectiveness model was used as aconceptual framework. Twenty six nurses and 91 women with caesarean section were purposive selected for this study. Data were collected from nurse and women with caesarean section by using the personal information sheet, the pain management questionnaire, the satisfaction questionnaire and recording form
concerning pain severity and pharmacological and non-pharmacological pain management. Data were collected during August to October 2014, and analyzed by using descriptive statistics. The findings showed that overall quality of pain management regarding management under prescription and collaborative role of nurses were at a good level. Pain scores of women in 24, 48 and 72 hours were at a mild level. However 48 hours after operation, pain level were increasing. Women were satisfied with pain management provided by nurses at a moderate level, which was lower than the standard criteria at 80%.

Downloads