ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือด เข้าใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยา Effect of Clinical Nursing Practice Guideline of Anticoagulant Drugs Injection Site in Subcutaneous to Prevent Injection Complications

ผู้แต่ง

  • แสงรวี มณีศรี
  • รริศรา สระทอง
  • ช่อทิพย์ ทองทิพย์
  • เกษสุณี เทศสนั่น
  • นันธิดา พันธุศาสตร์

คำสำคัญ:

การฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าใต้ผิวหนัง จํ้าเลือด ก้อนเลือด ความปวด subcutaneous anticoagulant injection, ecchymosis or hematoma, Pain level

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนครั้งของการเกิดจํ้าเลือดหรือก้อนเลือด และระดับ
ความปวดภายหลังการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าใต้ผิวหนัง ระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ
การพยาบาล โดยใช้ IOWA Model เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม
หญิงสามัญ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และได้รับการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิด Low Molecular Weight
Heparin (LMWH) เข้าใต้ผิวหนัง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น จำนวนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังใช้แนว
ปฏิบัติจำนวนกลุม่ ละ 31 ราย เครื่องมือที่ใชใ้ นงานวิจัยประกอบดว้ ย 1) แนวปฏิบัติในการฉีดยาตา้ นการแข็งตัวของ
เลือดชนิด LMWH เข้าใต้ผิวหนัง 2) แบบเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดยาต้านการแข็งตัวของ
เลือดเข้าใต้ผิวหนัง และ 3) แบบประเมินระดับความปวด หาความตรงเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติการพยาบาล และ
แบบเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าใต้ผิวหนัง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.85 ผลการศึกษาพบว่า จำนวนครั้งของการเกิดจํ้าเลือดหรือก้อนเลือด ภายหลังฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าใต้ผิวหนัง ในกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติตํ่ากว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ระดับความปวดภายหลังฉีดยาตา้ นการแข็งตัวของเลือดเขา้ ใตผิ้วหนัง ในกลุม่ หลังใชแ้ นวปฏิบัติ ต่ำกวา่ กลุม่ กอ่ นใชแ้ นวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)สรุปได้ว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลนี้สามารถลดอัตราการเกิดจํ้าเลือดหรือก้อนเลือด และระดับความปวดภายหลังฉีดยาต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าใต้ผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังพบการเกิดของก้อนเลือดภายหลังการใชแ้ นวปฏิบัติการพยาบาลเนื่องจากผูป้ ว่ ยโรคไตเรื้อรังจะมีการแข็งตัวของเลือดชา้ กวา่ ปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 30 ml/min/1.73 m2 ดังนั้นการฉีดยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้พยาบาลควรใช้ความระมัดระวังมากขึ้น

This study aimed to compare the number of ecchymosis or hematoma and pain level in patients receiving subcutaneous anticoagulant between groups before and after guideline utilization. IOWA Model for evidence-based practice was used for guideline development and implementation. Sample was purposively selected from patients receiving Low Molecular Weight Heparin (LMWH) in the female general ward Nopparat Rachathanee Hospital. There were 31 patients in each group of before and after guideline utilization. Research instruments included, 1) Clinical nursing practice guideline for anticoagulant
injection, 2) Complication monitoring scale, and 3) Pain scale. The content of the guideline and monitoring scale was validated by 3 experts and yielded CVI of 0.85.
Results showed that the number of ecchymosis or hematoma after receiving subcutaneous
anticoagulant in the patients after guideline utilization group was significantly lower than those before guideline utilization group (p < .05). Furthermore, pain level after receiving subcutaneous anticoagulant in the patients after guideline utilization group was significantly lower than those before guideline utilization group (p < .05). Conclusion: CNPG of anticoagulant drugs injection site in subcutaneous effectiveness to prevent complications both number of ecchymosis or hematoma and pain level, but hematoma was met because
chronic kidney disease patient had coagulopathy especially GFR lower than 30 ml/min/1.73 m2. A nurse should injection in chronic kidney disease patient with carefully.

Downloads