ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ต่อการรับรู้พฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา และภาวะสุขภาพของทารกคลอดก่อนกำหนด Effects of Promotion Program on Perceived Self – Efficacy Preterm Caring Behaviors of Mothers and Health Status of Pr

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ บุญมาชู
  • เสาวมาศ คุณล้าน เถื่อนนาดี

คำสำคัญ:

การรับรูค้ วามสามารถของตนเอง พฤติกรรมในการดูแลทารกคลอดกอ่ นกำหนด ภาวะสุขภาพของทารก คลอดก่อนกำหนด perceived self–efficacy, preterm caring behaviors, health status of preterm babies

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับรู้พฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา และภาวะสุขภาพของทารกคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหวา่ งเดือนพฤษภาคม 2557 ถึงเดือนตุลาคม 2557 เลือกกลุม่ ตัวอยา่ งแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้จำนวน 40 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย กลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของแบนดูรา1 และแนวคิดพฤติกรรมการดูแลบุตรวัยทารกของ Moore2 เป็นกรอบแนวคิด เครื่องมือที่ใช้ คือ เครื่องมือในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที และสถิติแมนวิทนีย์ยูผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองมารดาที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p < .05 ตามลำดับ) และหลังการทดลองทารกคลอดกอ่ นกำหนดกลุม่ มารดาที่ไดรั้บโปรแกรมการสง่ เสริมการรับรูค้ วามสามารถของตนเองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพดีกว่าทารกคลอดก่อนกำหนดกลุ่มที่มารดาที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

This quasi - experimental research aimed to study effects of promotion program perceived
self – efficacy on preterm caring, behaviors of mothers, and on health status of preterm babies. The sample was mothers and their preterm babies who were admitted to a neonatal unit at Sapphasitthiprasong hospital and data were collected between May, 2014 to October, 2014. Forty subjects were selected by purposive sampling. The control group received routine care while the experimental group received perceived self - efficacy promotion program. The research used the self–efficacy theory of Bandura1 and infant care behavior concept of Moore2 as a conceptual framework of the study. The instrument, used in this study, were divided into two parts. 1) Experimental instruments and 2) Instruments for collecting the data. Data analysis was done via frequency, percentage, means and standard deviation. The hypotheses were tested by using the t-test and the Mann-Whitney U test.
The research found that the mean score of mother’s self - efficacy for preterm infant and the mean score of mother’s preterm caring behavior for preterm infant in the experimental group were higher statistically significant (p < .05, p < .05) The mean score on health status of preterm babies in the experimental group was significant higher than those in the control group (p < .05)

Downloads