การสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่ทารกเกิดก่อนกำหนด โดยบุคลากรวิชาชีพต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา: การทบทวนอย่างเป็นระบบ Professional Support for Breastfeeding in Mothers of Preterm Infants on Successful Breastfeeding: A Systematic

ผู้แต่ง

  • กฤติกา ธรรมรัตนกูล
  • รัชนี เรืองพรวิสุทธิ์
  • พัชรินทร์ เงินทอง
  • ลาวัลย์ สมบูรณ์
  • เทียมศร ทองสวัสดิ์

คำสำคัญ:

การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มารดาที่ทารกเกิดก่อนกำหนด บุคลากรวิชาชีพ ความสำเร็จในการเลี้ยง บุตรด้วยนมมารดา การทบทวนอย่างเป็นระบบ breastfeeding, mothers of preterm infants, professional, success in breastfeeding, systematic review

บทคัดย่อ

นํ้านมมารดามีประโยชน์อย่างมากต่อทารกเกิดก่อนกำหนด แต่อัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่
ทารกเกิดกอ่ นกำหนดยังอยูใ่ นระดับต่ำ การสนับสนุนการเลี้ยงบุตรดว้ ยนมมารดาโดยบุคลากรวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ
จะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปประสิทธิผล
ของการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่ทารกเกิดก่อนกำหนดโดยบุคลากรวิชาชีพ โดยใช้แนวทาง
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์1 ผลการทบทวนอย่างเป็นระบบ พบว่า งานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 14 เรื่อง มีวิธีการและประสิทธิผลของการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาที่ทารกเกิดก่อนกำหนดโดยบุคลากรวิชาชีพ ดังนี้ 1) การจัดการเกี่ยวกับน้ำนม ไดแ้ ก ่ การกระตุน้ หัวนมรว่ มกับการประคบเตา้ นม การนวดเตา้ นมและการบีบเก็บน้ำนม รวมทั้งการใช้ดนตรีบำบัดช่วยเพิ่มปริมาณนํ้านม 2) การให้ความรู้โดยการใช้สื่อการสอนร่วมกับการฝึกปฏิบัติในระยะ24-72 ชั่วโมงหลังคลอดให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 3) การให้ความรู้และการสนับสนุนโดยบุคลากรวิชาชีพอย่างใกล้ชิดในระยะ 7-10 วันก่อนกลับบ้านให้ผลลัพธ์ที่ดีต่ออัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และ 4) การใช้เทคนิคในการให้นมบุตรจากเต้าโดยผ่านที่ครอบหัวนม ทำให้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาสูงขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มปริมาณนํ้านม

Breast milk is enormously beneficial for preterm infants. However, breastfeeding rate in mothers of preterm infants is still low. Effective professional support for breastfeeding will increase breastfeeding rate.The purpose of this systematic review was to summarize the effectiveness of professional support for breastfeeding in mothers of preterm infants by searching original research publication from the year 2008 to 2015 based on the guideline developed by the Joanna Briggs Institute.The results of a systematic review revealed that fourteen studies met the review inclusion criteria.The methods and the effectiveness of professional support for breastfeeding in mothers of preterm infants include 1) management of breast milk including nipple stimulation with breast compression, massage and squeeze of breast milk as well as using music therapy to increase milk supply 2) provision of wledge
by media teaching in combination with training within 24-72 hours postpartum which showed better results in perceived self-efficacy of breastfeeding and breastfeeding behavior. Another method was a provision of knowledge with closely professional support within 7-10 days before discharge to home showed good results in breastfeeding rate, and 3) use the technique of lactating breast through nipple shield enhanced perceived self-efficacy of breastfeeding and breastfeeding rate. It was also increased milk supply.

Downloads