การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทฤษฎี ทางการพยาบาล ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw An Action Research to Develop Teaching and Learning Nursing Theories by Cooperative Learning Strategy Using Jigsaw Technique

ผู้แต่ง

  • พิชญ์สินี มงคลศิริ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค Jigsaw ทฤษฎีทางการพยาบาล cooperative learning, jigsaw technique, nursing theories

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการวงรอบที่สอง เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ทฤษฎีทางการพยาบาลดว้ ยการเรียนรูแ้ บบรว่ มมือโดยใชเ้ ทคนิค Jigsaw กลุม่ ตัวอยา่ งเปน็ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์จำนวน111 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน แบบทดสอบและแบบสอบถามเกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียนทฤษฎีทางการพยาบาล เจตคติต่อการเรียนแบบร่วมมือ การรับรู้
ประสิทธิภาพของการทำงานกลุ่ม การบรรลุผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ (TQF) ของรายวิชา
และความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบ
เทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ paired t-testผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้ของผู้เรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P < .000) ผู้เรียนมีการพัฒนาเจตคติต่อการเรียนทฤษฎีการพยาบาล และต่อวิชาชีพไปในทางที่มากขึ้นในทุกข้อคำถาม โดยตระหนักในความสำคัญและสนใจศึกษาทฤษฎีทางการพยาบาล เกิดความซาบซึ้งในองค์ความรู้และภูมิใจในวิชาชีพ รับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความตระหนักในการรักษาจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและการเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .000) มีการพัฒนาเจตคติต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw ไปในทางที่ดีในทุกข้อคำถาม โดยมีการเข้าร่วมเรียนในกลุ่มอย่าง
กระตือรือร้น ยินดีเป็นผู้เชี่ยวชาญศึกษาทฤษฎีการพยาบาลที่ได้รับมอบหมาย มีความสุขที่ได้แนะนำและร่วม
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อน มีความเชื่อมั่นในศักยภาพ และมีการจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น พัฒนานิสัยใฝ่รู้
รู้คุณค่าการทำงานเป็นทีม และมีวินัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .000) ส่วนการรับรู้ประสิทธิภาพการ
ทำงานกลุ่มของนักศึกษา 5 ด้าน คือ การช่วยเหลือกันในกลุ่ม การอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม ความตั้งใจทำงาน ความ
ตรงต่อเวลา และการร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา พบว่า อยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยมีคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 4.01 (S.D. 0.69) การบรรลุผลตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา พบว่า อยู่ในระดับมากทุก
รายการโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 (S.D. 0.65) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้
อยู่ในระดับมากทุกรายการโดยมีผลรวมความพึงพอใจเท่ากับ 3.78 (S.D = 0.70)วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw ในการเรียนรู้ทฤษฎีทางการพยาบาล สามารถพัฒนาผูเ้ รียนใหมี้องคค์ วามรูข้ องทฤษฎีการพยาบาล ผา่ นการศึกษาคน้ ควา้ และชี้นำการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง การทำงานเปน็ ทีมมีความใฝรู่แ้ ละมีทักษะในการเรียนรูต้ ลอดชีวิต พัฒนาสมรรถนะผูเ้ รียนไดอ้ ยา่ งรอบดา้ น สอดคลอ้ งกับการพัฒนาสูก่ ารเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถาบันการศึกษาพยาบาลควรพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างต่อเนื่องรวมทั้งขยายผลต่อไปในรายวิชาอื่นของหลักสูตรเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพต่อไป

This was the second loop of a classroom action research aiming to develop teaching and learningnursing theories by cooperative learning strategy using jigsaw technique. The participants were 111second year student nurses who enrolled in the Academic Year 2014. Research instruments were coursedesign documents, examination, and the questionnaire about attitude of students toward leaning nursingtheories and the jigsaw technique. Also, their perception about efficiency of group work, their achieving inlearning outcomes assigned to this subject, and their satisfaction to the jigsaw technique course design
were collected. Data was analyzed by using percentage, means, standard deviations, and paired t-test.Results showed that the participants’ knowledge was significantly increased after the course(P < .000). They reported significantly improved in attitude toward learning nursing theories and nursingprofession, and the pride in nursing profession, increased in responsibility for self-directed learning, and realized the code of professional conduct (P < .000). Besides, they also significantly rated high attitude toward cooperative learning by using the jigsaw technique enthusiastically, were glad to study and share their assigned nursing theories with friend group, had confidence that they had the potential to plan and
learn systematically, developed the habit of inquiry and seeking knowledge, and appreciated the value of team work (P < .000). Average scores of the five dimensions of efficient team work in their perceptions equaled to 4.01 (S.D. 0.69). Their opinions regarding achieving learning outcomes according to the Thai Qualification Framework (TQF) reached overall point average of 3.74 (S.D. 0.65). Moreover, their satisfaction of the teaching and learning process met high level equal to 3.78 (S.D = 0.70). This research presents the suitability and effectiveness of the cooperative learning strategy by using the jigsaw technique in teaching and learning nursing theories. Not only have they learnt body of knowledge of nursing theories in nursing profession, but also developed self-directed learning ability,
life-long learning skills, team work and multi-dimension of learning skills toward 21st century education. Nursing education institutes should expand student-centered learning policies continuously for fully developing of students’ capability.

Downloads