ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของวัยรุ่นในชุมชนชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Factors Related to Food Security among Adolescents in A Rural Community of the Northeastern Thailand

ผู้แต่ง

  • ทัตภณ พละไชย
  • นพวรรณ เปียซื่อ
  • สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางอาหาร วัยรุ่น ชุมชนชนบท food security, adolescents, rural communities

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงทางอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับความมั่นคงทางอาหารของวัยรุน่ ในชุมชนชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวอยา่ งคือวัยรุน่ อายุ 15 –19 ป ี จำนวน193 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ครอบครัวและสังคม แบบสอบถามเรื่องอาหาร แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมแบบคัดกรองความมั่นคงทางอาหาร แบบสอบถามความมั่นคงทางอาหาร และแบบบันทึกอาหารที่รับประทานย้อนหลัง3 วัน ส่วนที่ 2 แบบประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต ประกอบด้วย กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตและกราฟประเมินดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียลผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 มีความมั่นคงทางอาหารมาก พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านปริมาณ
อาหารมีความมั่นคงทางอาหารมากที่สุด ร้อยละ 66.8 รองลงมาคือ ด้านคุณภาพอาหารร้อยละ 62.7 ด้านความวิตกกังวลเรื่องอาหารร้อยละ 62.2 และด้านความปลอดภัยของอาหารร้อยละ 16.6 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า
รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.172, p =.017)
รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านปริมาณอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(rs = -.222, p = .002) แรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านคุณภาพอาหารอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (rp = -.153, p = .034) แรงสนับสนุนจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหาร
ด้านคุณภาพอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.177, p = .014) ความมั่นคงทางอาหารมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.157, p = .029) ความมั่นคงทางอาหารด้านปริมาณ
อาหารมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะสุขภาพโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.188, p .009) ความมั่นคง
ทางอาหารด้านความปลอดภัยของอาหารมีความสัมพันธ์กับนํ้าหนักเทียบกับอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(rpb = -.152, p = .034) และความมั่นคงทางอาหารดา้ นความวิตกกังวลเรื่องอาหารมีความสัมพันธก์ ับการรับรูภ้ าวะสุขภาพโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -.174, p = .016).ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลความมั่นคงทางอาหารของวัยรุ่นโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรายได้น้อยและการส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะจากครอบครัวเพื่อความมั่นคงทางอาหารและการรับรู้ภาวะสุขภาพที่ดี

This descriptive study aimed to describe food security and factors related to food security among teenagers living in rural communities of Northeastern Thailand. Through simple random sampling, the sample included 193 adolescents aged 15 – 19 years. The instruments were; 1) the questionnaires including personal, family, and social questionnaire, food questionnaire, Social Support Questionnaire,Overall health perception questionnaire, screening tool for food security, food security questionnaire, and 3-day food record, 2) growth and nutritional assessment including graphs and body mass index chart. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, Spearman rank
correlation, and Point biserial correlation.Results revealed that 54.9% of the adolescents had food security. Food quantity subscale was the highest (66.8%) following food quality (62.7%), anxiety about food (62.2%), and food safety (16.6%).Correlational analysis revealed that family income was correlated with food security (rs = -.172, p =.017)
and food quantity subscale (rs = -.222 , p = .002). Social support was associated with food quality subscale (rp = -.153, p = .034). Family support was associated with food quality subscale (rs = -.177, p = .014). Food quantity subscale was associated with overall health perception (rs = -.157, p = .029). Food quantity subscale was associated with health perception (rs = -.188, p .009). Food safety subscale was associated with weight for age (rpb = -.152, p = .034) and food anxiety subscale was associated with overall health
perception (rs = -.174, p = .016).Results suggested that community nurse practitioners provide care regarding food security for adolescents, particularly those with low family income. Social support particularly family support should be promoted to enhance food security and health perception.

Downloads