ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้โดยทีมสหวิชาชีพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่มีภาวะความดันโลหิตสูง The Effects of a Supportive Educational Program by an Interdisciplinary Health Care Team

ผู้แต่ง

  • จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์
  • รัมภาพรรณ ประมวลทรัพย์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสนับสนุนและการใหค้ วามรู ้ ทีมสหวิชาชีพ พฤติกรรมสง่ เสริมสุขภาพ ภาวะหัวใจลม้ เหลว ผูป้ ว่ ย โรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะความดันโลหิตสูง supportive educational program, interdisciplinary health care team, health promotion behavior, heart failure

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสนับสนุนและการใหค้ วามรูโ้ ดยทีมสหวิชาชีพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมในจำนวนเท่ากัน โดยกลุ่มควบคุมไดรั้บการดูแลรักษาที่เปน็ มาตรฐานตามปกติ กลุม่ ทดลองไดรั้บการดูแลรักษาตามมาตรฐาน รว่ มกับโปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้โดยทีมสหวิชาชีพ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษา และแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าระดับความดันโลหิต systolic, diastolic และค่าเฉลี่ย (MAP) ของกลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า โปรแกรมการสนับสนุนและการให้ความรู้โดยทีมสหวิชาชีพมีบทบาทในการปรับปรุงพัฒนาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่มีภาวะความดันโลหิตสูง รวมทั้งสามารถนำมาใช้ในการป้องกันผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract
This quasi-experimental study was designed to examine a supportive educational program by an interdisciplinary health care team affected health promotion behavior to heart failure prevention among patients with coronary artery disease and coexisting hypertension. A hundred samples were randomized to either the experimental or the control group equally. The control group received usual standard care whereas the experimental group was
given standard care along with a supportive educational program developed by the researchers between June 2015 and January 2016. Data were collected using the Demographic and Medical Form and the Health Promotion Behavior to Heart Failure Prevention Questionnaire.After the program, results in the experimental group revealed that mean scores of health promotion behavior were significantly higher than those of the control group. On the other hand, in experimental group, systolic, diastolic, and mean arterial pressure were significantly lower than those of the control group. The findings suggest
that a supportive educational program can play a role in improving outcome of patients with coronary artery disease and coexisting hypertension and preventing them from heart failure as well.

Downloads