ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง Selected Factors Associated in Health Behaviors of Working – Age Patients with HIV/AIDS Receiving

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา บุญยะลีพรรณ
  • เจียมจิต แสงสุวรรณ
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น
  • วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
  • จิตภินันท์ ศรีจักรโครต
  • ลัดดา พลพุทธา
  • ยุทธชัย ไชยสิทธิ์
  • วีระวรรณ์ คุ้มกลาง
  • อมรรัตน์ คำชัย
  • อุดมรัตน์ นิยมนา

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ วัยแรงงาน การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี Health behaviors, Working-Age patieans with HIV/AIDS, Antiretroviral Therapy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ณ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 138 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า  1) พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับดี 2) พฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก 2 ลำดับได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพขณะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี และ  2) พฤติกรรมสุขภาพด้านการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ  พฤติกรรมสุขภาพรายด้านของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี 4 ลำดับ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด 2) พฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ 3) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย และ 4) พฤติกรรมสุขภาพด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 3) ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว และระยะเวลาที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวี พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ

                ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพทั้งหกด้านอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพในเรื่องการรับประทานยาต้านไวรัสให้ถูกต้องตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการดื้อยาต่อเชื้อเอชไอวีในอนาคต

Abstract

The purpose of retrospective study was to study the selected factors related to health behaviors of working-age patients with HIV/AIDS receiving antiretroviral therapy at a tertiary hospital. The conceptual framework based on Health Promotion Model of Pender.  The samples were 138 persons who living with HIV/AIDS receiving antiretroviral therapy at a tertiary hospital. Data were collected in August 2012. The research tool included the demographic data and the health behaviors of persons living with HIV/AIDS receiving antiretroviral therapy questionnaire. Data analysis used descriptive statistics, Point biserial correlation, and Person’s product moment correlation.

Research found: 1) The overall health behaviors score was at high level. 2) Health behaviors of health responsibility and spiritual growth were at the highest level. Health behavior of stress management, nutrition, physical activities and interpersonal relations and were at high level. 3) Gender, age, marital status, educational level, family income and timing of ARV taking were not correlated to health behaviors.

                The finding from the study suggests that six aspects of health behaviors should be continuously maintained by healthcare providers, especially in the promoting of some aspects such as physical activity, nutrition, interpersonal relations and  health responsibility for taking ARV regimens in order to reduce rate of HIV drug resistance in the future.

 

Downloads