การรับรู้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัวของภรรยาที่สามีติดสุรา Perception of the Right in Protection of Domestic Violence Victims Responded by the Wives of Alcohol Dependence Husbands

ผู้แต่ง

  • สุกรรณ์ยา งามชัด
  • กฤตยา แสวงเจริญ

คำสำคัญ:

ความรุนแรงในครอบครัวของภรรยาที่สามีติดสุราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว Domestic violence victims, perception, wives of alcohol dependence husbands, rights

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้สิทธิและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของภรรยาที่สามีติดสุรา  กลุ่มตัวอย่างคือภรรยาของผู้ติดสุรา จำนวน 130 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นหาความเที่ยงด้วย KR-21 ได้ความเชื่อมั่นเท่ากับ .86  รายด้านได้แก่ 1)  ด้านความคิดเห็น ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  .94  2) ด้านการนำไปปฏิบัติ ด้านความคิดเห็น ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ  .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน 95% CI

ผลการศึกษา พบว่าภรรยาที่สามีติดสุราเคยถูกกระทำรุนแรงอย่างน้อย 1 ด้าน มีจำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 90.8 (95% CI ; 85.83 – 95.77) ส่วนใหญ่เคยถูกกระทำรุนแรงด้านจิตใจร้อยละ87.7  ด้านร่างกายร้อยละ50.8 ด้านเพศร้อยละ19.2 การรับรู้สิทธิและการปฏิบัติตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวของภรรยา มีความรู้จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 99.23 โดยเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นในแต่ละข้อ จากพิจารณากฎหมายทุกด้านมีผู้ที่เห็นด้วยทั้ง 9 ข้อ (ทั้งหมดทุกข้อ) จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 69.8 เมื่อถูกกระทำนำไปปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่ง 47 คน คิดเป็นร้อยละ 36.43

ซึ่งจากผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงได้ ผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงส่วนใหญ่ไม่แสดงความเรียกร้องตามสิทธิของตนเอง แม้จะมีการรับรู้กฎหมายก็ตาม ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจที่ศึกษาต่อไปในอนาคต

Abstract

The purpose of this descriptive research was to study the perception of the right in protection of domestic violence victims acted by wives of alcohol dependence, family character of wives of alcohol dependence, violence severity occurred to wives and compliance to the right in the protection of domestic violence victims act. The samples were 130 wives of alcohol dependence hospitalized as outpatient and inpatient at Thanyarak Khonkaen Hospital. The data were collected by using the two questionnaire tools developed the researcher. The validities were validated by five experts with congruency. The reliabilities of the questionnaires for violence against wives from her husbands, the questionnaires of legal recognition and the exercise of the law ,which partitioned into: 1) opinion ; and 2) implementation, which were tested by KR-21, and earned the reliabilities 0 .86, 0.94 and 0.76, respectively. Descriptive Statistics and 95% CI were used in data analysis.

The results were as follows:

                1. The average age of samples, wives of alcohol dependence, was 38.6 years old. Most of them had secondary school education (42.3 %). As family character, most of their family relation was sometimes controversy (57.7 %). The average years of living together or marriage was 16.22 years and alcohol assumption was 12.45 years.

2. There were 118 wives who were abused by their husbands at least 1 type of violence (90.8 %),(95% CI;85.83-95.77)  and 22 wives who were abused in all 3 types (16.9 %), (95% CI ; 10.46 - 23.34).

3. There were 129 wives who had legal recognition and performance (99.23 %).When asking their opinions toward each items, there were 90 wives who agreed with nine items (all items) (69.8 %) and 47 of them implemented the law (36.43%). 

                These findings can be used to define guidelines for helping victims of violence. Most of victims did not claime for their rights even they had legal recognition. This topic is very important and noticeable to be studied in the future.

 

Downloads