การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน โดยใช้ IDEAL Patient Care Model ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช Development of Caring system by IDEAL Patient Care Model for Acute Ischemic Stroke Patients at Chaoprayayomarat Hospital

ผู้แต่ง

  • ปราณี เกษรสันติ์
  • ณาตยา ขนุนทอง
  • ขนิษฐา พันธุ์สุวรรณ
  • วราพร พลายชุมพล

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง IDEAL Patient Care Model Care system, Stroke, IDEAL Patient care model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โดยใช้ IDEAL Patient Care Model ที่ประยุกต์จากแนวปฏิบัติของ Agency for Healthcare Research and Quality และศึกษาประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม ในระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 ถึง เดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 30 ราย การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้วิจัย ในด้านกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล 2) ขั้นดำเนินการ ได้แก่ วิเคราะห์ปัญหาสภาพเดิมของการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันการพัฒนารูปแบบการดูแล การปฏิบัติตามแผน การสังเกตติดตาม สะท้อนปฏิบัติ และการปรับปรุง 3) ขั้นประเมินผลโดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง IDEAL Patient Care Model  และแบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ IDEAL Patient Care Model เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งมั่นในการสร้างความผูกพันของผู้ป่วยและครอบครัวในกระบวนการจำหน่ายจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ซึ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยมีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยการสร้างความผูกพันสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว การเพิ่มทักษะผู้ป่วยและการสนับสนุนที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เป็นการนำมาสู่การร่วมกันกำหนดเป้าหมาย การให้ข้อมูล ความมีสำนึกรับผิดชอบ การลงมือปฏิบัติ การดูแลตนเอง ความไวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อทีมงาน ผู้ให้บริการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำมาสู่คุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย  ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดขาดเลือดเฉียบพลันโดยใช้  IDEAL Patient Care Model  ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADLs) สูงกว่าขณะแรกรับไว้ในความดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่พบอัตราการรับกลับเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผน ภายใน 28 วัน ความพึงพอใจในบริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ  4.66 (S.D. = .18)  ประเด็นสำคัญของความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในครั้งนี้ คือแนวคิดในการปรับกระบวนทัศน์การวางแผนจำหน่ายให้เป็นกระบวนเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองและผู้ดูแลให้พร้อมในการดูแลช่วยเหลือด้านความเจ็บป่วย การสร้างความผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งในทีมของผู้ป่วยและครอบครัว 

Abstract

 

The purposes of the action research were to develop caring system for IDEAL Patient Care Model, applied from The US Agency for Healthcare Research and Quality, in Acute Ischemic stroke patients and to evaluate the effectiveness of the developed caring system at Chaoprayayomarat hospital. The study participants included 30 patients utilizing services at Medical Department during June 2016 to August 2016. The development process composed of 3 steps including 1) preparation phase for research methodology and data collection protocol development, unit preparation, and multidisciplinary team coordination; 2) implementation phase for problem identification, planning, acting, monitoring, observing and reflecting and revising; and 3) evaluation phase for quantitative and qualitative data collection. The descriptive statistic such as percentage, mean, standard deviation, and comparative statistics were used for data analysis.

The results showed three components of caring system development for IDEAL Patient Care Model in Acute Ischemic stroke patients. After implementation development for IDEAL Patient Care Model in Acute Ischemic stroke patients, the average of the Barthel Activity Daily Living (ADL) Index was statistically significant difference (p < 0.05). No patient readmission within 28 days after discharge from the hospital were found. This model implementation yielded maximum satisfaction with the developed system (Mean 4.66, S.D. = .18) among patients and care givers. The key success factor was the idea to adjust the paradigm of discharge planning process to prepare the patients to care for themselves and use patient and family engagement.

Downloads