ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Factors Predicting Exercise Behaviors among Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing,The North Eastern Region Network

ผู้แต่ง

  • ธนพร แย้มศรี
  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย นักศึกษาพยาบาล การรับรู้ความสามารถของตน อิทธิพลระหว่างบุคคลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี exercise behaviors, nursing students, perceived self-efficacy, interpersonal influences, BoromarajonaniCollege of Nursing

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคลจากครอบครัว เพื่อน ครู อิทธิพลด้านสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.28, SD = .25) และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (b = .391) และอิทธิพลระหว่างบุคคลจากครอบครัว เพื่อน ครู(b = .128) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ร้อยละ 19.6 (R2 = .196, p< .001)        จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษาพยาบาลควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรม/ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในนักศึกษาพยาบาล โดยเน้นเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลระหว่างบุคคลจากครอบครัว เพื่อน ครู

Abstract

                The purpose of this research was to identify factors predicting exercise behaviors among nursing students. A cluster random sampling method was used to recruit a sample of 214 nursing students in Boromarajonani College of Nursing, the north eastern region. Research instruments included a personal data record form, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influences (family, friend, and teacher), environmental influences, and exercise behaviors questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis.

                Results revealed that the sample had mean scores of exercise behaviors at moderate level (M = 2.28, SD = .25). Significant predictors of exercise behaviors were perceived barrier (b = .391) and interpersonal influences (b = .128). The model explained 19.6 % of variance.

                These findings suggest that nurses and health care providers in nursing college could apply this study’s results to develop activities/ programs to promote exercise behaviors among nursing students. The program should focus on perceived barriers and interpersonal influences from family, friend, and teacher.

Downloads