การสนับสนุนทางสังคม ความกลัวการคลอด และสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก Social support, Fear of Childbirth, and Childbirth Self-Efficacy Among Primigravidas

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ ทัพซ้าย
  • ปิยะนุช ชูโต
  • นงลักษณ์ เฉลิมสุข

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ความกลัวการคลอด, สมรรถนะแห่งตนในการคลอด, สมรรถนะแห่งตน, สตรีครรภ์แรก

บทคัดย่อ

สมรรถนะแห่งตนในการคลอด เป็นความรู้สึกเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่สตรีมีครรภ์คาดหวังว่าจะสามารถจัดการหรือแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ของการเจ็บครรภ์และการคลอดที่กำลังจะมาถึงได้อย่างเหมาะสม บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวังสำเร็จ การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความกลัวการคลอดและสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีครรภ์แรก อายุ 20-35 ปี และอายุครรภ์ระหว่าง 28-41 สัปดาห์ จำนวน 85 ราย ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดสมรรถนะแห่งตนในการคลอด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความกลัวการคลอด วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย: สตรีครรภ์แรกมีสมรรถนะแห่งตนในการคลอดโดยรวมอยู่ในระดับสูง (= 214.96, S.D. = 34.41) โดยมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (= 108.58, S.D. = 16.78) และมีความคาดหวังในสมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง (= 106.38, S.D. = 19.56) 2) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .49, p < .01) 3) และความกลัวการคลอดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.46, p < .01)

ข้อเสนอแนะ: สตรีครรภ์แรกควรได้รับการประเมินการสนับสนุนทางสังคม ความกลัวการคลอดและสมรรถนะแห่งตนในการคลอด และพยาบาลผดุงครรภ์ควรพัฒนากลยุทธ์ในการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และลดความกลัวการคลอด เพื่อเพิ่มสมรรถนะแห่งตนในการคลอดของสตรีครรภ์แรก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28