การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน Care of Schizophrenia Patients by the Community

ผู้แต่ง

  • ศรินรัตน์ จันทพิมพ์
  • ขนิษฐา นันทบุตร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท การดูแลผู้ป่วยจิตเภท ชุมชน, schizophrenia patients, care of schizophrenia patients, community

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความหมายของผู้ป่วยจิตเภท สถานการณ์ปัญหา และสังเคราะห์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชนในบริบทสังคมของชุมชน โดยเชื่อว่าวิธีการศึกษาจะช่วยสะท้อนคิดวิธีการทำงานของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการจัดการดูแลที่สอดรับความต้องการของผู้ป่วยจิตเภท ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2558  ถึง มีนาคม พ.ศ.2560  โดยทำการศึกษาในพื้นที่ชนบทแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   ผู้ให้ข้อมูล 83  คนประกอบด้วย 1) กลุ่มภาคประชาชน  ครอบครัว เพื่อน จำนวน 31 คน  2) กลุ่มแกนนำกลุ่ม/องค์กรในชุมชน จำนวน 23 คน        3) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน/ กรรมการชุมชน  จำนวน 15  คน  และ 4 ) กลุ่มบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน   14  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  สัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา

                     ผลการศึกษามี  5   ประเด็นคือ  1. ความหมายของผู้ป่วยจิตเภทตามมุมของชุมชนหมายถึงคือ  คนเครียด  โรคที่เกี่ยวกับสมอง  คนบ้า  คนด้อยโอกาส  ถูกไสยศาสตร์ และผิดหวังจากการปฏิบัติธรรม  2. วิถีชีวิตของผู้ป่วยจิตเภทมี วิถีของผู้พึ่งพา   วิถีผู้อยู่พียงลำพัง  วิถีผู้ขาดสิทธิและโอกาส  และวิถีของคนยากจน  3. ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยจิตเภท    4. รูปธรรมการดูแลของชุมชน สำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพและมิติทางสังคม ได้แก่  1) การช่วยเหลือดูแล        2) การจัดบริการเพื่อให้การดูแล 3) การเสริมสร้างความ 4) การพัฒนาศักยภาพ และ 5)  การจัดสวัสดิการและการสนับสนุนบริการอื่นๆ  และ 5. ปัจจัยเงื่อนไขในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน

                    องค์กรในชุมชนที่มีบทบาทร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท 4 องค์กรหลัก ได้แก่ ภาคประชาชน   กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ จากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน 5 ส่วนได้แก่ 1) หลักการของระบบการดูแลของชุมชน  2) การศึกษาและนำใช้ข้อมูลเป็นฐาน 3) การทำงานร่วมกันของ 4 องค์กรหลัก 4)  กระบวนการพัฒนา และ 5) การใช้กลไกชุมชน   จากผลการวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาศักยภาพ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท  เพื่อนำสู่กระบวนการการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทร่วมกับองค์กรชุมชนการปฏิบัติการพยาบาลที่ครอบคลุมมิติสุขภาพและมิติทางสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11