ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคข้อเข่าเสื่อม และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงวัยกลางคน จังหวัดอุบลราชธานี Effects of self-management support programs on knee osteoarthritis protection behaviors and the quality of life among middle-

ผู้แต่ง

  • บษพร วิรุณพันธุ์
  • วราทิพย์ แก่นการ

คำสำคัญ:

การสนับสนุนจัดการตนเอง โรคข้อเข่าเสื่อม ผู้หญิงวัยกลางคน

บทคัดย่อ

โรคข้อเสื่อมเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของความพิการในผู้ใหญ่ พบในวัยกลางคนอายุเริ่มตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และคุณภาพชีวิตของผู้หญิงวัยกลางคน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มอย่างง่ายกลุ่มละ 56 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเอง ระยะเวลา 6 เดือน ประกอบด้วย 1) การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม 2) การสาธิตอาหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและข้อ 3) การสาธิต ฝึกปฏิบัติออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อเข่าเสื่อม  4) การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม กลุ่มควบคุมมีกิจกรรมการดูแลตามปกติ การเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ ไคลสแควร์ ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน                 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม และคุณภาพชีวิตโดยรวม สูงกว่ากลุ่มควบคุม และก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value <0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองทำให้หญิงวัยกลางคนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมและคุณภาพชีวิตดีขึ้น  ข้อเสนอแนะการนำโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองไปใช้ควรสอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-11