บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพชุมชนสำหรับการดูแลผู้ป่วย ด้วยโรคหลอดเลือดสมองในอินโดนีเซีย People who are Involved in Community Health Care System for Stroke in Indonesia

ผู้แต่ง

  • Agianto -
  • ขนิษฐา นันทบุตร

คำสำคัญ:

บุคคลที่เกี่ยวข้อง ระบบสุขภาพชุมชน โรคหลอดเลือดสมอง อินโดนีเซีย

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีอุบัติการณ์ของโรคในระดับสูง (โดยเฉลี่ยมีผู้ป่วยด้วยภาวะดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 795,000 รายต่อปี) และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกรวมถึงประชากรชาวอินโดนีเซีย โรคหลอดเลือดสมองยังส่งผลต่อความบกพร่องทางร่างกายและการเจ็บป่วยร้ายแรงซึ่งต้องการการดูแลในระยะยาวจากบุคคลในหลายๆฝ่ายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการรักษา นอกจากนั้นยังมีความจำเป็นที่จะต้องผนวกแนวคิดทางการรักษาที่หลากหลายและการคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของการรักษา      (multi-perspectives and realities) เพื่อให้เห็นถึงบริบทและสภาพความเป็นโดยรวมอยู่ของผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตามที่อินโดนีเซียยังขาดกระบวนการในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจากหลายๆฝ่าย ทำให้บุคคลที่ควรจะมีส่วนเกี่ยวข้องเช่นอาสาสมัคร เพื่อนบ้าน และผู้นำชุมชนไม่ได้เข้ามามีบทบาทการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพชุมชนเพื่อการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองในอินโดนีเซีย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาเชิงวิพากษ์ (critical ethnography) โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 64 คนเลือกโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ประกอบด้วยการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์(transcript) การกำหนดรหัสของข้อมูล(coding) การจัดกลุ่ม(typology) การวิเคราะห์เมทริกซ์(matrix analysis) และการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis)

                ผลการศึกษาพบว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด 8 ฝ่ายในเมืองบันจาร์มาซิน ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วย ผู้ให้การดูแลที่เป็นบุคคลในครอบครัว ผู้ให้การดูแลที่เป็นบุคคลนอกครอบครัว ผู้ทำงานด้านสุขภาพ เพื่อนบ้าน เพื่อน หมอนวด อาสาสมัคร และผู้นำชุมชน แต่ละฝ่ายมีบทบาทและหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองแตกต่างกันออกไป ซึ่งบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนต่างก็มีความสำคัญต่อการจัดการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง การทำงานของพยาบาลเพียงฝ่ายเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการการทำงานและการบรรลุเป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชนสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการทำงานโดยผนวกวิธีการที่หลากหลายจากหลายๆฝ่ายจะช่วยให้แผนการรักษาบรรลุผลได้โดยง่าย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28