ผลของโปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง The Effect of The Mutual Goal Setting Nursing Program on Activities of Daily Living Among Patients With Stroke

ผู้แต่ง

  • เริงฤทธิ์ ทองอยู่
  • ดวงพร ปิยะคง
  • สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช คัดเลือกตามคุณสมบัติตามที่กำหนด ทั้งหมดจำนวน 27 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน หาค่าความเที่ยงโดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .87วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 97.04 คะแนน และมีคะแนนเฉลี่ยความความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผลของโปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีการปฏิบัติในการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการฟื้นฟูสภาพร่างกายตนเองอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้ระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28