ปัจจัยเชิงนิเวศวิทยาที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคแผลเป็ปติค ณ โรงพยาบาลจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว Ecological factors associated with peptic ulcer disease at Champasak Hospital, LAO PDR

ผู้แต่ง

  • จันทร์ศรี พรหมพิทักษ์
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม

บทคัดย่อ

ารศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลเป็ปติค ในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำปาสัก ประเทศ ส.ป.ป. ลาว ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน สิงหาคม 2561 ถึงเดือน ตุลาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วย PUD และกลุ่มผู้ป่วย Non-PUD กลุ่มละ 48 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบสอบถามปัจจัยเสี่ยงเชิงนิเวศวิทยา  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและลักษณะของปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด PUD โดยใช้ simple และ multiple logistic regression  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลเป็ปติคมี 3 ระดับ คือ 1) ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่การติดเชื้อ            H. pylori (OR=4.88, 95% CI:  1.87-12.73, p=.001)  การใช้ยา NSAIDs (OR=107.81, 95% CI: 12.64-919.11, p<0.001)  การดื่มแอลกอฮอล์ (OR=31.61, 95% CI: 3.38-295.66, P=.002)  และการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา (OR=45.22, 95% CI: 4.84-422.05, p=.001)  2) ปัจจัยระหว่างบุคคล ได้แก่การมีเพื่อนสนิทที่ยอมรับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ (OR=7.37, 95% CI: 1.47-36.87, p=.01) และการมีครอบครัวไม่มีข้อห้ามในการดื่มแอลกอฮอล์ (OR=  3.98, 95% CI:  1.24-12.21, p=.02) และ 3) ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรมและกฎหมาย ได้แก่ การซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังเวลา 16.00 น (OR=5.02, 95% CI: 1.42-17.72, p=.01) การป้องกันการเกิด PUD อย่างมีประสิทธิภาพจึงควรดำเนินการให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ระดับนี้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27