ผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลThe Effectiveness of caregivers Coaching Program on Caring Behaviors for 1-2 years old child with pneumonia in the care of hospital

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง
  • อัจฉรา วริลุน
  • อุมาสมร หังสพฤกษ์
  • เอมอร ทาระคำ
  • ภัณฑิรา ทองหล่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแล ตามแนวคิดการสอนแนะของ Pasloe และ Wray1 โดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการพยาบาลตามปกติ กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบของผู้ดูแล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสอนแนะ แผนการสอนแนะ และคู่มือการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี สําหรับผู้ดูแล  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI  เท่ากับ 0.76 และความเที่ยงโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิตค่าทีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน  ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะร่วมกับการพยาบาลปกติ ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ อายุ 1-2 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27