ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี Nurse’s knowledge, attitude and practice on post-operative delirium in elderly patient, a Tertiary Hospital, Ubon Ratchathani province

ผู้แต่ง

  • ลีต้า อาษาวิเศษ
  • มยุรี ลี่ทองอิน
  • สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์

คำสำคัญ:

ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด ผู้สูงอายุ ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติการพยาบาล

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับการปฏิบัติของพยาบาลต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 141 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้  2) แบบสอบถามทัศนคติ และ 3) แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีความรู้อยู่ระดับสูง คะแนนทัศนคติและคะแนนปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ความรู้ ทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p > .05) อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติของพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัดได้แก่  ทัศนคติเชิงบวก และทัศนคติเชิงลบ (r = 0.25, p< .01, r = -0.24, p< .01) ตามลำดับ ดังนั้นควรส่งเสริมความรู้ เพิ่มทัศนคติเชิงบวกและลดทัศนคติเชิงลบของพยาบาลรวมทั้งพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและดูแลภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27