ผลของชนิดปุ๋ยพืชสดร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิต การดูดใช้ธาตุอาหารและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์ กข47 ที่ปลูกในชุดดินอยุธยา

Main Article Content

สายชล สุขญาณกิจ
ธนภัทร ปลื้มพวก
ธนวรรณ พาณิชพัฒน์

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำในปัจจุบัน การจัดการปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำการเกษตร โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดปุ๋ยพืชสดร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิต การดูดใช้ธาตุอาหาร และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของข้าวพันธุ์ กข47 ที่ปลูกในชุดดินอยุธยา วางแผนการทดลองแบบ  factorial in randomized complete block จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ ไม่ปลูกพืชปุ๋ยสด (A1) ปลูกถั่วเขียว (A2) และปลูกถั่วเหลืองเป็นปุ๋ยพืชสด (A3) ปัจจัยที่ 2 คือ การจัดการปุ๋ย ได้แก่ ไม่ใส่ปุ๋ย (B1) ใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราเทียบเท่าปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ 500 กก./ไร่ (B2) และใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 500 กก./ไร่ (B3) ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีการใช้ถั่วเหลืองเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทำให้ข้าวมีผลผลิตเมล็ดสูงที่สุด (1,048.0 กก./ไร่) นอกจากนี้ยังมีผลให้การดูดใช้ธาตุอาหารในเมล็ดและโดยรวมทั้งต้นสูงที่สุด (10.5, 2.4 และ 3.7 กก.N-P-K/ไร่ ในเมล็ด และ 15.4, 3.2 และ 23.4 กก.N-P-K/ไร่ โดยรวมทั้งต้น) แต่เมื่อพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่ากรรมวิธีการใช้ถั่วเหลืองเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับใช้ปุ๋ยเคมีให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด (9,242.78 บาท/ไร่) ด้านสมบัติดินหลังเก็บเกี่ยว พบว่าการใช้ถั่วเขียวเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์ได้สูงที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2559. องค์ความรู้เรื่องข้าว. สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคกลาง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/ central/Ay.html (22 กรกฎาคม 2559).

กรมวิชาการเกษตร. 2548. มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา หน้า 9, เล่มที่ 122 ตอนพิเศษ 109 ง.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 108 หน้า.

ธงชัย มาลา. 2550. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิตและการใช้โยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 300 หน้า.

นันทนา ชื่นอิ่ม วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์ สมชาย กรีฑาภิรมย์ และ นุษรา สินบัวทอง. 2553. การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน. หน้า 325-332. ใน: รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 สาขาพืช, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

เบ็ญจพร กุลนิตย์ และ วันเฉลิม ศรีบุญโรจน์. 2560. การจัดการปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารเกษตรพระวรุณ 14(1): 61-70.

พรทิพย์ ศรีมงคล วิมลนันทน์ กันเกตุ และ ศุภสิทธิ์ สิทธา-พานิช. 2557. ผลของซากพืชต่อการปลดปล่อยไนโตรเจนและการดูดใช้ไนโตรเจนของข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45(2)(พิเศษ): 521-524.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 519 หน้า.

สายชล สุขญาณกิจ สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์ และ ธนภัทร ปลื้มพวก. 2560. ผลของการจัดการฟางข้าวร่วมกับปุ๋ยพืชสดต่อสมบัติทางเคมีของดินในชุดดินอยุธยา. หน้า 2507-2517. ใน: รายงานการประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 14 สาขาพืชและเทคโนโลยีชีวภาพ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2558/2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. www.ayutthaya. doae.go.th/index_files/pakart/datayutthaya.pdf (25 สิงหาคม 2559).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. ราคาข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15% รายเดือนที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ทั้งประเทศ ปี 2541-2561. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล. http://www.oae.go.th/ download/price/monthlyprice/paddy 14-15.pdf (15 กรกฎาคม 2560).

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557ก. ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานีในชุดดินสรรพยา. วารสารแก่นเกษตร 42(3): 369-347.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557ข. การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา. วารสารเกษตร 30(2): 133-140.

Akinrinde, E.A. and T. Gaizer. 2006. Differences in the performance and phosphorus use efficiency of some tropical rice (Oryza sativa L.) varieties. Pakistan Journal of Nutrition 5(3): 206-211.

FAO Project Staff and Land Classification Division. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Land Development Department, Bangkok.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Resources Conservation Service, USDA, Washington, D.C.

Saothongnoi, V., S. Amkha, K. Inubushi and K. Smakgahn. 2014. Effect of rice straw incorporation on soil properties and rice yield. Thai Journal of Agricultural Science 47(1): 7-12.

Sinkumkoon, P., S. Thanachit, S. Anusontpornperm, I. Kheoruenromne, P. Petprapai and R. Bowichean. 2015. Influences of green manures and N-fertilizer management on nutrient uptakes and yield of cassava on a degraded sandy soil. Kasetsart Journal (Natural Science) 49(3): 375-389.

Sukitprapanon, T., A. Suddhiprakarn, I. Kheoruenromne, S. Anusontpornperm and R.J. Gilkes. 2016. A comparison of potential, active and post-active acid sulfate soils in Thailand. Geoderma Regional 7(3): 346-356.

Whitbread, A., G. Blair, K. Naklang, R. Lefroy, S. Wonprasaid, Y. Konboon and D. Suriya-arunroj. 1999. The management of rice straw, fertilisers and leaf litters in rice cropping systems in Northeast Thailand. Plant and Soil 209(1): 29-36.

Wong, J.W.C., K.F. Mark, N.W. Chan, A. Lam, M. Fang, L.X. Zhou, Q.T. Wu and X.D. Liao. 2001. Co-composting of soybean residues and leaves in Hong Kong. Bioresource Technology 76(2): 99-106.

Yousaf, M., J. Li, J. Lu, T. Ren, R. Cong, S. Fahad and X. Li. 2017. Effects of fertilization on crop production and nutrient supplying capacity under rice-oilseed rape rotation system. Scientific Repotrs 7: 1270, doi: 10.1038/s41598-017-01412-0.