การประเมินความต้านทานต่อโรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างข้าวที่เกิดจากเชื้อรา <I>Sarocladium oryzae</I>

Main Article Content

วนิดา ธรรมธุระสาร
ศิริพร ดอนเหนือ
ศิริพร กออินทร์ศักดิ์
จินตนา อันอาตม์งาม

บทคัดย่อ

โรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างข้าวถือเป็นโรคหนึ่งที่สำคัญที่เกิดจากเชื้อรา Sarocladium oryzae เป็นสาเหตุทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าวในประเทศไทยลดลง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการคัดเลือกและประเมินความต้านทานต่อโรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างสาเหตุจากเชื้อรา S. oryzae ในสภาพโรงเรือน และค้นหาแหล่งพันธุกรรมต้านทานโรคนี้ โดยสำรวจและเก็บตัวอย่างโรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างในบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นำมาแยกเชื้อราสาเหตุด้วยวิธี tissue transplanting จากกาบใบและเมล็ด จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่า เชื้อรา 20 ไอโซเลทที่แยกได้นั้น จำแนกเป็นเชื้อรา S. oryzae โดยไอโซเลทที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือ NPT0136 เป็นไอโซเลทที่นำไปใช้สำหรับการประเมินบนข้าว 15 พันธุ์ ที่มีลักษณะต้านทานปานกลางถึงต้านทานต่อเชื้อรา Bipolaris oryzae, Curvularia lunata และ Fusarium incarnatum ผลการทดสอบพบว่า ข้าวพันธุ์ DH103, 0-39 กำแพงเพชร และ กข6 ต้นเตี้ย มีลักษณะต้านทานปานกลางและต้านทานต่อเชื้อรา S. oryzae หลังจากปลูกเชื้อราที่บริเวณรวงและกาบใบ ดังนั้น ข้าวทั้ง 3 พันธุ์นี้ จึงสามารถใช้เป็นแหล่งความต้านทานต่อโรคกาบใบเน่าและโรคเมล็ดด่างที่เกิดจากเชื้อรา S. oryzae ในโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์ได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินธรรพ์ บุบผา. 2559. การจำแนก Physiological Races ของเชื้อราสาเหตุโรคเมล็ดด่างข้าวและการประเมินโรคบนข้าวพันธุ์ต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 164 หน้า.

กวินธรรพ์ บุบผา เทิดศักดิ์ สวัสดิ์สุข รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์ ศิริพร กออินทร์ศักดิ์ และ จินตนา อันอาตม์งาม. 2559. การสำรวจโรคเมล็ดด่างข้าวที่เกิดจาก เชื้อราและการพัฒนาวิธีการประเมินโรคในสภาพโรงเรือน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 47(3): 339-349.

ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ ประเสริฐ ไชยวัฒน์ หนูเรียง จันทร์เสนา และ นพพร สุภาพจน์. 2548. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กลุ่มวิจัย ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, อุบลราชธานี. 48 หน้า.

ธีรยุทธ ตู้จินดา. 2557. พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://58.97.40.52/ provtech/node/26 (13 มีนาคม 2561).

พรทิพย์ ถาวงศ์. 2545. ผลของโรคเมล็ดด่างที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว. วารสารวิชาการเกษตร 20(2): 111-120.

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สมชาย ธนสินชยกุล ไสว บูรณพานิชพันธุ์ เจตน์ คชฤกษ์ และ คณิตา เกิดสุข. 2560. ปฏิกิริยาของข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 (ขาวดอกมะลิ 105/อาบาญ่า) × ชัยนาท 1 กับเพลี้ยกระโดดหลังขาว. วารสารเกษตร 33(1): 21-30.

ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี. 2539. ข้าว: ความรู้คู่ชาวนา. เอกสารวิชาการ. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 191 หน้า.

สมคิด ดิสถาพร. 2532. ชาวนาปราบโรคข้าว. สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 116 หน้า.

Bigirimana, V. de P., G.K.H. Hua, O.I. Nyamangyoku and M. HÖfte. 2015. Rice sheath rot: An emerging ubiquitous destructive disease complex. Frontiers in Plant Science 6: 1066, doi: 10.3389/fpls.2015.01066.

Gams, W. and D.L. Hawksworth. 1975. Identity of Acrocylindrium oryzae Sawada and a similar fungus causing sheath-rot of rice. Kavaka 3: 57-61.

International Rice Research Institute (IRRI). 2013. Standard Evaluation System (SES) for Rice. 5th ed. IRRI, Manila. 65 p.

Lanoiselet, V., M. P. You, Y. P. Li, C. P. Wang, R. G. Shivas and M. J. Barbetti. 2012. First report of Sarocladium oryzae causing sheath rot on rice (Oryza sativa) in Western Australia. Plant Disease 96(9): 1382.

McMaugh, T. 2005. Guidelines for Surveillance for Plant Pests in Asia and the Pacific. ACIAR Monograph No.119, ACIAR, Canberra. 192 p.

Mew, T. W. and P. Gonzales. 2002. A Handbook of Rice Seedborne Fungi. International Rice Research Institute, Manila and Science Publishers, Inc., Enfield, N.H. 83 p.

Mew, T. W., H. Leung, S. Savary, C. M. Vera Cruz and J. E. Leach. 2004. Looking ahead in rice disease research and management. Critical Reviews in Plant Sciences 23(2): 103-127.

Sakthivel, N. 2001. Sheath rot disease of rice: Current status and control strategies. pp. 271-283. In: S. Sreenivasaprasad and R. Johnson (eds.). Major Fungal Diseases of Rice: Recent Advances. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht.