แรงจูงใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ฐิติมา จันทร์หอม
สุรพล เศรษฐบุตร
จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
พรสิริ สืบพงษ์สังข์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร 3) ข้อเสนอแนะต่อโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 262 คน สุ่มตัวอย่างจำนวน 128 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 57.81 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 56.32 ปี มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 11.94 ไร่ มีจำนวนแรงงานเกษตรในครัวเรือน 1 - 2 คน จากการวิเคราะห์ปัจจัยโดยวิธี varimax พบว่า ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตรของเกษตรกร มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านทัศนคติที่ดีต่อโครงการ ปัจจัยด้านนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล ปัจจัยด้านการปรับตัวของเกษตรกร ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการได้รับความช่วยเหลือ ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ และปัจจัยด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจเหล่านี้มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตรของเกษตรกรในระดับมาก (=3.83) การศึกษาครั้งนี้เกษตรกรให้ข้อเสนอแนะว่า ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยพืชผลการเกษตรแก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องละครอบคลุมทุกพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชบัญชา. 2551. การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://rci2010.files. wordpress.com/2010/06/factor-analysis.doc (15 ตุลาคม 2559).
ณัฐิกา ธนะขว้าง. 2558. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมแผนการออม เพื่อการบำนาญยามชราภาพผ่านกองทุนการออมแห่งชาติของแรงงานนอกระบบ จังหวัดอ่างทอง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม. 217 หน้า.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. 2558. จำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร ธ.ก.ส. ปีการผลิต 2558 จังหวัดเชียงใหม่. รายงานโครงการประกันภัยพืชผลการเกษตร ธ.ก.ส. ปีการผลิต 2558 จังหวัดเชียงใหม่, เชียงใหม่.
นงณพร ทับทิมทวีโชค. 2556. ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นของ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มจังหวัดอีสานตอนใต้ที่มีต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกร. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน 20(2): 5-32.
ประภัสสร คำใบสี. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่ทำประกันภัยข้าวนาปีของ เกษตรกรตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 86 หน้า.
ศันสนีย์ กระจ่างโฉม และ สุดารัตน์ อุทธารัตน์. 2559. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร 32(1): 29-38.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. 2553. การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินสําหรับเกษตรกร: กรณีศึกษาการประกันภัยพืชผลโดยใช้ดัชนีสภาพอากาศในประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กรุงเทพฯ. 125 หน้า.
สุชนีย์ ทรัพย์สมบูรณ์ เบญจพรรณ เอกะสิงห์ ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์. 2561. การจำแนกครัวเรือนเกษตรกรที่มีระบบการทำฟาร์มแบบปลูกข้าวเป็นพืชหลักในจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารเกษตร 34(2): 255-267.
Chenet, P., T.S. Dagger and D. O’Sullivan. 2010. Service quality, trust, commitment and service differentiation in business relationships. Journal of Services Marketing 24(5): 336-346.
Deka, P.K. 2016. Segmentation of young consumers of north-east India based on their decision-making styles. The IUP Journal of Marketing Management 15(2): 65-85.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York.