ผลของสารประกอบแคลเซียมและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อคุณภาพผลสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80

Main Article Content

ชิตาพร ผิวแดง
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของสารประกอบแคลเซียมร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อคุณภาพผลของสตรอว์-เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ทำการทดลอง ณ แปลงสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกร หมู่บ้านแม่สาใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ Factorial (3x3x3)+1 in RCBD ปัจจัยแรกคือ ระยะการพ่นสาร 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะหลังดอกบานเต็มที่ 2) ระยะ 14 วันหลังดอกบานเต็มที่ และ 3) ระยะ 21 วันหลังดอกบานเต็มที่ ปัจจัยที่ 2 คือ ชนิดสารประกอบแคลเซียม 3 ชนิด ได้แก่ 1) CaCl2, 2) Ca(NO3)2 และ 3) Ca2+chelated ความเข้มข้น 200 มก./ล. ปัจจัยที่ 3 คือ ชนิดสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช 3 ชนิด ได้แก่ 1) GA3 50 มก./ล., 2) CPPU 10 มก./ล. และ 3) NAA 50 มก./ล. เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำกลั่น ผลการทดลองพบว่า การพ่น Ca2+chelated ร่วมกับ NAA ที่ระยะ 21 วันหลังดอกบานเต็มที่ ให้น้ำหนักและขนาดของผลมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มของน้ำหนักผล และขนาดผลมากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ในขณะที่การพ่นสารในระยะดอกบานเต็มที่พบว่าการพ่นสารประกอบแคลเซียมทุกชนิดร่วมกับ CPPU และ NAA ทำให้มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) มากกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแนวโน้มให้ค่า TSS มากกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ และการพ่น Ca2+chelated ร่วมกับสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทั้ง 3 ชนิด สามารถเพิ่มความแน่นเนื้อได้ นอกจากนี้การพ่น CaCl2 และ Ca2+chelated ร่วมกับ NAA สามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลสตรอว์เบอร์รีได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. สตรอเบอรี่ปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant/rortor/fruit.pdf (30 พฤศจิกายน 2560).

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2550. การผลิตไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็กในเขตร้อน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 176 หน้า.

ณรงค์ชัย พิพัฒนวงศ์ เวช เตจะ และ ฮิโรชิ วาคากิ. 2551. สตรอเบอรี่ “พันธุ์พระราชทาน 80”. เอกสารจากงานวิจัยสตรอเบอรี่ มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 3 หน้า.

ดนัย บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 226 หน้า.

ธนากร บุญกล่ำ พฤหัส ศรีขวัญ พิมพ์นิภา เพ็งช่าง ธีร์ หะวานนท์ และ ภาสันต์ ศารทูลทัต. 2559. ผลของ GA3 NAA และ CPPU ต่อขนาดและคุณภาพผลแก้วมังกร ‘แดงสยาม’. แก่นเกษตร 44(1): 887-891.

พณิตา สุโข สุทิศา ชัยกุล นงนุช ชนะสิทธิ์ และ ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2559. ผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน. วารสารเกษตร 33(2): 175-184.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2557. การให้ปุ๋ยทางใบ. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 164 หน้า.

วิจิตร วังใน. 2552. ธาตุอาหารกับการผลิตพืชผล. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 371 หน้า.

สังคม เตชะวงค์เสถียร. 2532. สตรอเบอรี. วิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 144 หน้า.

Abbasi, N.A., L. Zafar, H.A. Khan and A.A. Qureshi. 2013. Effects of naphthalene acetic acid and calcium chloride application on nutrient uptake, growth, yield and post harvest performance of tomato fruit. Pakistan Journal of Botany 45(5): 1581-1587.

Avigdori-Avidov, H. 1986. Strawberry. pp. 419-448. In: S.P. Monselise (ed.). Handbook of Fruit Set and Development.CRC Press, Boca Raton, Florida.

Canli, F.A. and H. Orhan. 2009. Effects of preharvest gibberellic acid applications on fruit quality of 0900 Ziraat sweet cherry. HortTechnology 19(1): 127-129.

Ciccarese, A., A.M. Stellacci, G. Gentilesco and P. Rubino. 2013. Effectiveness of pre- and post-veraison calcium applications to control decay and maintain table grape fruit quality during storage.Postharvest Biology and Technology 75: 135-141.

Davies, P.J. 2010. The plant hormones: their nature, occurrence, and functions. pp. 1-15. In: P.J. Davies (ed.). Plant Hormones: Biosynthesis, Signal Transduction, Action!. Springer, Dordrecht.

Erogul, D. 2014. Effect of preharvest calcium treatments on sweet cherry fruit quality. Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj-Napoca 42(1): 150-153.

Fait, A., K. Hanhineva, R. Beleggia, N. Dai, I. Rogachev, J.V. Nikiforova, R.A. Fernie and A. Aharoni. 2008. Reconfiguration of the achene and receptacle metabolic networks during strawberry fruit development. Plant Physiology 148: 730-750.

Kadir, S.A. 2004. Fruit quality at harvest of ‘‘Jonathan’’ apple treated with foliarly applied calcium chloride. Journal of Plant Nutrition 27(11): 1991-2006.

Kim, J.G., Y. Takami, T. Mizugami, K. Beppu, T. Fukuda and I. Kataoka. 2006. CPPU application on size and quality of hardy kiwifruit. Scientia Horticulturae 110: 219-222.

Kuiper, D. 1993. Sink strength: established and regulated by plant growth regulators. Plant Cell & Environment 16(9): 1025-1026.

Kumar, J. and D. Thakur. 2013. Effect of different concentration of CPPU and fruit thinning on yield and quality of kiwifruit cv. Allison and Hayward. The Asian Journal of Horticulture 8(2): 701-705.

Lester, G.E. and M.A. Grusak. 2004. Field application of chelated calcium: postharvest effects on antaloupe and honeydew fruit quality. HortTechnology 14: 29-38.

Madani, B.M., T.M. Mohamed, C.B Watkins, J. Kadir, Y. Awang and T.R. Shojaei. 2014. Preharvest calcium chloride sprays affect ripening of Eksotika III papaya fruits during cold storage. Scientia Horticulturae 171: 6-13.

Singh, K., M. Sharma and S.K. Singh. 2017. Effect of plant growth regulators on fruit yield and quality of guava (Psidium guajava) cv. Allahabad Safeda. Journal of Pure and Applied Microbiology 11(2): 1149-1154.

Singh, R., R.R. Sharma and S.K. Tyagi. 2007. Pre-harvest foliar application of calcium and boron influences physiological disorders, fruit yield and quality of strawberry (Fragaria x ananassa Duch.). Scientia Horticulturae 112: 215-220.

Sotiropoulos, T., L. Therios and N. Voulgarakis. 2010. Effect of various foliar sprays on some fruit quality attributes and leaf nutritional status of the peach cultivar ‘Andross’. Journal of Plant Nutrition 33: 471-484.

Symons, G.M., Y.J. Chua, J.J. Ross, L.J. Quittenden, N.W. Davies and J.B. Reid. 2012. Hormonal changes during non-climacteric ripening in strawberry.Journal Experimental Botany 63(13): 4741-4750.

Zhou, W., H. Wang, L. Zhao and B. Lin. 1999. Study on characteristics of calcium uptake by young fruit of apple (Malus pumila) and its regulation by hormone. Scientia Agricultura Sinica 3: 5-9.