ชีววิทยาของไร <I>Tyrophagus pacificus</I> Fan & Zhang (Acari: Acaridae) ที่เข้าทำลายเห็ดถั่งเฉ้าสีทอง

Main Article Content

ยุพาพร อุณหนันท์
จิราพร กุลสาริน
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง

บทคัดย่อ

เห็ดถั่งเฉ้าสีทอง Cordyceps militaris (L.) Link เป็นเห็ดที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เนื่องจากมีสรรพคุณทางยา ทำให้เห็ดมีราคาแพง จึงมีผู้สนใจนำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก แต่เกิดปัญหาไร Tyrophagus pacificus Fan & Zhang เข้าทำลาย ซึ่งเป็นไรที่ไม่เคยมีรายงานการศึกษาในประเทศไทย จึงได้ทำการศึกษาชีววิทยาของไรชนิดนี้ พบว่า ตัวเต็มวัยเพศเมียมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญ คือ ถุงเก็บสเปิร์มที่แคบยาว และขยายออกบริเวณฐาน ส่วนของฐานมีลักษณะแบน  สำหรับไรตัวเต็มวัยเพศผู้มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ยาวโค้งย้อนกลับลงมาบริเวณฐาน และจากการศึกษาวงจรชีวิตของไร T. pacificus บนเชื้อรา C. militaris ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA อายุ 15 วัน ในห้องปฏิบัติการที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 19.89 ± 0.44 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 82.52 ± 5.01 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ไร T. pacificus มีการเจริญเติบโต 5 ระยะ คือ ระยะไข่เฉลี่ย 7.13 ± 2.07 วัน ตัวอ่อน เฉลี่ย 0.96 ± 0.00 วัยรุ่นที่ 1 เฉลี่ย 1.97 ± 0.02 วัยรุ่นที่ 2 เฉลี่ย 3.87 ± 0.37 และ ระยะจากไข่ถึงตัวเต็มวัยเฉลี่ย 14.34 ± 1.48 วัน แสดงให้เห็นว่าไร T. pacificus มีวงจรชีวิตสั้น ทำให้สามารถเพิ่มขยายปริมาณได้อย่างรวดเร็ว จึงจัดเป็นไรศัตรูสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายในเห็ดถั่งเฉ้าสีทองได้ ดังนั้นการศึกษาวงจรชีวิตดังกล่าว จึงสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการคาดการณ์ความเสียหาย และเป็นแนวทางในการป้องกันกำจัดไรศัตรูเห็ดถั่งเฉ้าสีทอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ลือดารา จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ ธัญญา ทะพิงค์แก. 2559. การเจริญของเห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) บนดักแด้ไหมไทยพื้นบ้านพันธุ์นางลายและไหมป่าอีรี่. วารสารเกษตร 32(1): 95-102.

กอบเกียรติ์ บันสิทธิ์ พรทิพย์ วิสารทานนท์ ฉัตรไชย ศฤงฆบูลย์ และ สัจจะ ประสงค์ทรัพย์. 2554. แมลง-ไรศัตรูเห็ดในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 85 หน้า.

จริยา วิสิทธิ์พานิช. 2531. ไรวิทยา. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 175 หน้า.

ประนอม ใจอ้าย จริยา วิสิทธิ์พานิช. 2540. วงจรชีวิตไรสี่ขา Aceria dimocarpi (Kuang) (Acarina: Eriophyidae) ศัตรูสำคัญของลำไย. วารสารเกษตร 13(1): 88-99.

ประนอม ใจอ้าย. 2541. ชีวนิเวศวิทยาของไรอิริโอไฟอิดศัตรูลำไย และความเสียหายจากการเข้าทำลายของไร ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 77 หน้า.

ปรียา มะโนรัตน์. 2558. วัสดุเพาะผสมดักแด้ไหมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าหิมะ Isaria tenuipes. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 33 หน้า.

พลอยชมพู กรวิภาสเรือง มานิตา คงชื่นสิน และ เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์. 2553. อนุกรมวิธานไรศัตรูในโรงเก็บของประเทศไทย. หน้า 2047-2084. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2553. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

พลอยชมพู กรวิภาสเรือง มานิตา คงชื่นสิน พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ วิมลวรรณ โชติวงศ์ และ อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล. 2559. การศึกษาชนิดของไรสี่ขาศัตรูพืชของประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร 34(3): 218-229.

Davis, A.C. 1944. The mushroom mite (Tyrophagus lintneri (Osborn)) as a pest of cultivated mushrooms. Technical Bulletin 879: 26.

Fan, Q.H. and Z.Q. Zhang. 2007. Tyrophagus (Acari: Astigmata: Acaridae). Fauna of New Zealand 56. Manaaki Whenua Press, Lincoln, Canterbury. 291 p.

Konvipasruang, P. and A. Chandrapatya. 2018. One new genus, two new species, three new records and an updated record of mites in Thailand. P.150. In: Proceedings of the 15th International Congress of Acarology. 2-8 September 2018. Antalya, Turkey.

Patel, K.J. and R.S. Ingalhalli. 2013. Cordyceps militaris (L.: Fr.) Link - An important medicinal mushroom. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry 2(1): 315-319.

Singh, A.U. and K. Sharma. 2016. Pests of mushroom. Advances in Crop Science and Technology 4, doi: 10.4172/2329-8863.1000213.

Zhang, Z.Q. 2003. Mites of Greenhouses: Identification, Biology and Control. CABI Publishing, Wallingford. 244 p.