ผลของการใช้สารเคลือบบางชนิดกับดักแด้ไหมต่อพัฒนาการและคุณภาพของเห็ดถั่งเฉ้าสีทอง <I>Cordyceps militaris</I> (L.) Link

Main Article Content

กิตติมา จีนจรรยา
จิราพร กุลสาริน
ธัญญา ทะพิงค์แก
ไสว บูรณพานิชพันธุ์

บทคัดย่อ

เห็ดถั่งเฉ้าทิเบต Cordyceps sinensis เป็นเชื้อราที่เจริญเติบโตโดยสร้างก้านดอกเห็ดหนึ่งก้านบนตัวหนอนผีเสื้อ ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจของผู้บริโภค จึงทำการพัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดถั่งเฉ้าสีทอง Cordyceps militaris (L.) Link ด้วยการใช้สารเคลือบชนิดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดก้านดอกเห็ดถั่งเฉ้าสีทองหนึ่งก้านบนดักแด้ไหม (Bombyx mori L.) โดยทำการฉีดเชื้อรา C. militaris เข้าไปในตัวดักแด้ไหมตรงบริเวณส่วนหัว จากนั้นทำการเคลือบดักแด้ไหมด้วยพาราฟิล์ม, PTFE และแคลเซียมอัลจิเนต ยกเว้นตรงบริเวณที่ทำการฉีดเชื้อเข้าไป เพื่อเป็นการปิดช่องทางการสร้างเส้นใยโดยควบคุมให้เส้นใยเกิดขึ้นเฉพาะภายในตัวดักแด้ไหม และเจริญออกมาบริเวณที่ไม่ได้เคลือบ จากการฉีดเชื้อรา C. militaris ที่ความเข้มข้น 106 สปอร์/มิลลิลิตร และเคลือบดักแด้ด้วย PTFE นำไปบ่มในที่มืด เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นนำออกมาเลี้ยงในสภาพที่มีแสง พบว่าสามารถเกิดก้านดอกเห็ดได้ 99.50 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการเจริญเติบโตและความสามารถในการเข้าก่อโรคกับดักแด้ไหมสูงที่สุด และจากการวิเคราะห์สารคอร์ไดซิปินของเชื้อรา C. militaris ที่ผ่านการอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 8 ชั่วโมง พบสารคอร์ไดซิปินในก้านดอกเห็ดสูงสุดที่ 948.32 มิลลิกรัม/100 กรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ลือดารา จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และ ธัญญา ทะพิงค์แก. 2559. การเจริญของเห็ดถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) บนดักแด้ไหมไทยพื้นบ้านพันธุ์นางลายและไหมป่าอีรี่. วารสารเกษตร 32(1): 95-102.

ณิชานันท์ เกินอาษา และ วาสนา หวานชื่น. 2561. ความรุนแรงของเชื้อราขาว Beauveria bassiana และเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในการควบคุมเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero และเพลี้ยแป้งน้อยหน่า Planococcus lilacinus (Cockerell). วารสารเกษตร 34(3): 461-467.

สิริภัค สุระพร และ วันวิสาข์ ศิริวัฒนเมธานนท์. 2552. การเจริญของเชื้อรา Cordyceps spp. บนดักแด้ไหมพันธุ์นางลาย × 108. วิทยาสารกำแพงแสน 7(1): 1-9.

Cision PR Newswire. 2014. Research and investment prospect of China Cordyceps militaris market, 2013-2017. (Online). Available: https://www.prnewswire.com/news-releases/ research-and-investment-prospect-of-china-cordyceps-militaris-market-2013-2017-255150541.html (October 30, 2017).

Hiroki, S. and S. Mitsuaki. 2002. Stromata production for Cordyceps militaris (Clavicipitales: Clavicipitaceae) by injection of hyphal bodies to alternative host insects. Applied Entomology and Zoology 37(1): 85-92.

Hong, I.P., S.H. Nam, G.B. Sung, K.G. Lee, S.M. Cho, S.J. Seok, H. Hur, M.W. Lee and S.X. Guo. 2009. Chemical composition of main Cordyceps species in Korea. International Journal of Industrial Entomology 18(1): 13-17.

Hong, I.P., P.D. Kang, K.Y. Kim, S.H. Nam, M.Y. Lee, Y.S. Choi, N.S. Kim, H.K. Kim, K.G. Lee and R.A. Humber. 2010. Fruit body formation on silkworm by Cordyceps militaris. Mycobiology 38(2): 128-132.

Huang, L., Q. Li, Y. Chen, X. Wang and X. Zhou. 2009. Determination and analysis of cordycepin and adenosine in the products of Cordyceps spp. African Journal of Microbiology Research 3(12): 957-961.

Remawi, M.A. 2012. Sucrose as a crosslinking modifier for the preparation of calcium alginate films via external gelation. Journal of Applied Sciences 12(8): 727-735.

Xu, H., Z. Hu, S. Wu and Y. Chen. 2003. Surface modification of polytetrafluoroethylene by microwave plasma treatment of H2O/Ar mixture at low pressure. Materials Chemistry and Physics 80(1): 278-282.