การผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ

Main Article Content

โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน
ปนัดดา จะแจ้ง
ชัยสิทธิ์ ทองจู
จำเนียร ชมภู
วนิดา สืบสายพรหม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ ด้วยการเติมและไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x2 factorial in CRD ทำการทดลอง 5 ซ้ำ สิ่งทดลองมี 2 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยที่ 1 คือ การหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ ได้แก่ แหนแดง และผักตบชวา เปรียบเทียบกับการไม่ใส่พืชน้ำ (ชุดควบคุม) และปัจจัยที่ 2 คือ การเติมและไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ การหมักย่อยมูลนกแอ่นกินรัง โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T1) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับแหนแดง โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T2) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T3) การหมักย่อยมูลนกแอ่นกินรัง ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T4) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับแหนแดง ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T5) และการหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T6) บันทึกข้อมูลปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเพื่อคำนวณหาปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมในระบบ วิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 40 วันหลังจากเริ่มระบบ นอกจากนี้วัดค่า เพื่อวัดค่าความเป็นกรดด่าง และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการกำจัด BOD, COD, TS และ TVS ในตัวอย่างน้ำก่อนเข้าและหลังออกจากระบบหมัก พบว่า ปัจจัยด้านการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา และปัจจัยด้านการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ทำให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพและปริมาณก๊าซมีเทนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า การหมักย่อยร่วมของ T3, T5 และ T6 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี ทำให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ เท่ากับ 61.00, 62.40 และ 75.60 มิลลิลิตรต่อปริมาตรเริ่มต้น 30 มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนการหมักย่อยร่วมของ T6 ทำให้ผลผลิตก๊าซมีเทนมากที่สุด เท่ากับ 67.87% สำหรับประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์ในระบบ พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัด BOD สูงสุดใน T6 เท่ากับ 88.16% ในขณะที่ประสิทธิภาพการกำจัด COD สูงสุดใน T4, T5 และ T6 เท่ากับ 90.17, 81.59 และ 88.16% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัด TS และ TVS สูงสุดใน T2 เท่ากับ 81.44 และ 82.79% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับทุกกลุ่มทดลอง ดังนั้นการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดการของเสียที่เกิดจากบ้านนกแอ่นกินรัง เพื่อลดปริมาณของเสียและการสะสมก๊าซพิษภายในบ้านนก อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวนกแอ่นกินรัง ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. 2556. การประชุมแก้ไขปัญหาการส่งออกรังนกจากไทยไปจีน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.acfs.go. th/news/ docs/birdsnest.pdf (7 เมษายน 2561).

จำเนียร ชมภู สุนัดดา ไชยสิทธิ์ และ วนิดา สืบสายพรหม. 2560. การใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำในการหมักย่อยร่วมกับมูลสุกรต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(3): 9-18.

โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน และ วนิดา สืบสายพรหม. 2560. การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลนกแอ่น. หน้า 94-102. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14. 7-8 ธันวาคม 2560. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

นันทประภา นันทิยะกุล. 2556. การประชุมแก้ไขปัญหาการส่งออกรังนกจากไทยไปจีน. หน้า 1-26. ใน: รายงานการประชุมแก้ไขปัญหาการส่งออกรังนกจากไทยไปจีน. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

นิรันดร โพธิกานนท์ วราภา คุณาพร และ โชค มิเกล็ด. 2545. ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพและสถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมในฟาร์มสุกรและโคนมทั่วประเทศไทย. วารสารเกษตร 18(1): 73-87.

ผจงสุข สุธารัตน์ เสาวนิตย์ ชอบบุญ นิศากร วิทจิตสมบูรณ์ และ อนุมัติ เดชนะ. 2554. การพัฒนาถังผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์. สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา, สงขลา. 108 หน้า.

วนิดา สืบสายพรหม. 2553. การจัดการส้วมน้ำภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรเพื่อการผลิตแก๊สชีวภาพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 107 หน้า.

สุนัดดา ไชยสิทธิ์ จำเนียร ชมพู และ วนิดา สืบสายพรหม. 2558. การหมักย่อยร่วมของมูลสุกรกับพืชน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพ. หน้า 263-272. ใน: รายงานการประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11. 17-19 มิถุนายน 2558. โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ, ชลบุรี.

อรุณี ศุภสินสาธิต. 2555. พลังงานจากชีวมวลที่มีลิกโนเซลลูโลสสูง. วารสารสิ่งแวดล้อม 16(2): 36-43.

Alalade, O.A. and E.A. Iyayi. 2006. Chemical composition and the feeding value of azolla (Azolla pinnata) meal for egg-type chicks. International Journal of Poultry Science 5(2): 137-141.

American Public Health Association. 1998. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th ed. United Book Press, Inc., Baltimore.

Budiyono, I. Syaichurrozi and S. Sumardiono. 2014. Effect of total solid content to biogas production rate from vinasse. International Journal of Engineering 27(2): 177-184.

Callaghan, F.J., D.A. J. Wase, K. Thayanithy, C.F. Forster. 2002. Continuous co-digestion of cattle slurry with fruit and vegetable wastes and chicken manure. Biomass Bioenergy 27: 71-77.

Iyagba, E.T., I.A. Mangibo and Y.S. Mohammad. 2009. The study of cow dung as co-substrate with rice husk in biogas production. Scientific Research and Essay 4(9): 861-866.

Kavuma, C. 2013. Variation of methane and carbon dioxide yield in a biogas plant. MSc. Thesis. Royal Institute of Technology, Stockholm.

Malik, A.A., A. Aremu, B.A. Ayanwale, A.T. Ijaiya, A.H.A. Badmos and A.H. Dikko. 2014. An evaluation of water hyacinth (Eichhornia crassipes (Martius) Solms-Laubach) meal as a feedstuff for pullet chicks as determined by carcass and haematological characteristics. International Journal of Advanced Biotechnology and Research 4(2): 114-121.

Norhayati, M.K., O. Azman and W.M. Wan Nazaimoon. 2010. Preliminary study of the nutritional content of Malaysian edible bird’s nest. Malaysian Journal of Nutrition 16(3): 389-396.

Ogiehor, I.S. and U.J. Ovueni. 2014. Effect of temperature, pH and solid concentration on biogas production from poultry waste. International Journal of Scientific & Engineering Research 5(1): 62-69.

Perez, J., Munoz-Dorado, T.D.L. Rubia and J. Martinez. 2002. Biodegradation and biological treatments of cellulose, hemicellulose and lignin: an overview. International Microbiology 5(2): 53-63.

Van Soest, P.J., J.B. Robertson and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber neutral detergent fiber, and non starch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal of Dairy Science 74(10): 3583-3597.

Vardon, D.R., B.K. Sharma, J. Scott, G. Yu, Z. Wang, L. Schideman, Y. Zhang and T. Strathmann. 2011. Chemical properties of biocrude oil from the hydrothermal liquefaction of Spirulina algae, swine manure, and digested anaerobic sludge. Bioresource Technology 102: 8295-8303.

Xie, S., P.G. Lawlor, J.P. Frost, Z. Hu and X. Zhan. 2011. Effect of pig manure to grass silage retio on methane production in bath anaerobic co-digestion of concentrated pig manure and grass silage. Bioresource Technology 102: 5728-5733.