ทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้าถึงสถานบริการ การได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพของผู้ดูแล การดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ยุพา ฟูชื่น, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นมื่น

คำสำคัญ:

ทัศนคติเชิงบวก, การเข้าถึงสถานบริการ, การได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพของผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติเชิงบวก การเข้าถึงสถานบริการ การได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติเชิงบวก การเข้าถึงสถานบริการ และการได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพของผู้ดูแล กับการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ  ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง  เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ จำนวน 74 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

    ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้าถึงสถานบริการ และการได้รับการสนับสนุนทางสุขภาพ  และการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ อยู่ในระดับปานกลาง  และพบว่า ทัศนคติเชิงบวกมีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงสถานบริการ การได้รับการสนับสนุน และการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  โดยทัศนคติเชิงบวกมีระดับความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพในระดับมาก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระ
แห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ 6 Sustainable 4 Change. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ
ลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และ พรนภา คำพราว. รูปแบบการดูแลสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก.
15(3), 123-127.

เฉลิมชัย เลิศทวีพรกุล.(2551). พลิกชีวิต คิดเชิงบวก. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดวงพร หุ่นตระกูล และคณะ. (2550). การพัฒนาบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ :
กรณีศึกษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยทางการพยาบาล. 12(2). 131-141.

นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์ และ สุปาณี สนธิรัตน. (2556). ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และ
ความผาสุกในชีวิต ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์. 39(2): 66-79.

บรรลุ ศิริพานิช.(2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. นนทบุรี: เอสเอส พลัส มีเดีย จำกัด.บุษยา วงษ์ชวลิตกุล และคณะ.(2559).ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัด
นครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 5 (2), 74-92.

ปิยะนุช ชัยสวัสดิ์ และคณะ. (2559). การใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของผู้สูงอายุ ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง
จังหวัดสิงห์บุรี. วชิรสารการพยาบาล. 18(2), 42-50.

พรพรม ไขชัยภูมิ และ ภรณี ศิริโชติ. (2554).ความต้องการสวัสดิการสําาหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตําาบลโนนไทย
อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
28 (1),85-100.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. (2559). ระบบสุขภาพปฐมภูมิ.
[Online], Available: https://kb.hsri.or.th/dspace.(2017, 4 December).

วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557.
[Online], Available: https://kb.hsri.or.th/dspace.(2017, 4 December).

วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. (2557).การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น.
วารสารสภาการพยาบาล. 29 (3), 104-115.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.(2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559.
กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.(2560). ทิศทางการวิจัยตามนโยบายการวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
[Online]. Available from: https://www.hsri.or.th/.(2017, 4 December).

สมชาย วิริภิรมย์กูล และคณะ. (2558). สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ: กรณีศึกษา
อำเภอท่ามะกา และ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 11(14). 24-42.


สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดลำปาง. (2560). ข้อมูลผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ไม่มีผู้ดูแล ถูกทอดทิ้ง
หรือมีภาวะพึ่งพิง.[Online], Available: https://www.lampang.m-society.go.th/. (2017, 3 November)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุ. [Online], Available: https://www.dop.go.th/th.
(2017, 24 December)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2560). ข้อมูลประชากรความเจ็บป่วยตำบลบ้านเอื้อม. ลำปาง: สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดลำปาง.

อรวรรณ แผนคง และ สุนทรีย์ คำเพ็ง. (2553). ผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการ
สร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร.
16(1), 1-13.

อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็ง และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0.
วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(3), 235-243.

อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศรีจันทร์ และ สัญญา แก้วประพาฬ. (2560). การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุ: การศึกษา
แบบเรื่องเล่า.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.4(1),91-104.

Aiken, Lewis R. (1995). Aging: An Introduction to Gerontology. Thousand Oaks, CA: Sage.

Marengoni, (2009). Patterns of chronic multi-morbidity in the elderly population. J. Am. Geriatr. Soc.
57,225–230.

Roger,D. (1978).The psychology. New York: Appleton Century-Crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-28