ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับ  Template Johss

         ทุกบทความทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการที่ส่งตีพิมพ์ที่วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือจะต้องไม่เคยได้รับการเผยแพร่ ตีพิมพ์ หรือได้ส่งไปพิจารณาคุณภาพบทความในวารสารอื่นๆ มาก่อน และขอให้ผู้นิพนธ์ทุกท่านปฏิบัติตามแนวทาง ประกาศ และนโยบายของวารสารฯ ในการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ เพื่อมาตรฐานและคุณภาพของวารสารต่อไป

รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ   

       ต้นฉบับหลัก: ต้นฉบับจะต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์  พิมพ์ต้นฉบับ ด้วยกระดาษ A4 หน้าเดียว เขียนเป็นภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 15-20 หน้า  และเว้นระยะขอบอย่างน้อย 2.5 ซม. ทางด้านซ้ายและด้านบนของหน้ากระดาษ  และเว้นระยะของ 2 ซม. ทางด้านขวาและด้านล่างของหน้ากระดาษ ให้ผู้นิพนธ์ใช้ TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ตลอดทั้งต้นฉบับ ยกเว้น Title ที่มีขนาดตัวอักษร 18

ต้นฉบับหลักควรประกอบด้วย:

  1. ชื่อเรื่อง/บทความ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องกะทัดรัดและสื่อเป้าหมายหลักของการศึกษา ไม่ใช้คำย่อ โดยแยกหน้าภาษาอังกฤษ 1 หน้า และภาษาไทย 1  หน้า (โดยให้หน้าภาษาอังกฤษขึ้นก่อน) ชื่อเรื่องควรกะทัดรัดไม่ยาวจนเกินไป ภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา และภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ โดยให้ระบุชื่อ-นามสกุลเต็มของผู้นิพนธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลำดับความสำคัญ ขนาดตัวอักษร TH SarabunPSK 16 ระบุสถานที่ทำงาน (Affiliation) หรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในปัจจุบันและจังหวัด ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ไม่ใช้คำย่อ ทั้งนี้ในกรณีมีมากกว่าหนึ่งสังกัด ขอให้ระบุมาเพียงสังกัดเดียว เมื่อมีผู้เขียนหลายคน และอยู่คนละสังกัดให้ใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ตามลำดับเพื่อแยกสังกัด *, ** โดยให้ระบุเป็นเชิงอรรถในหน้านั้นๆ           2.1 ชื่อผู้นิพนธ์ ไม่ใส่ตำแหน่งวิชาการ ยศ ตำแหน่งทหาร สถานภาพทางการศึกษา หรือ คำนำหน้าชื่อ หรือท้ายชื่อ เช่น นาย นาง นางสาว ผศ.ดร., Ph.D.., ร.ต.ต., พ.ต.ท. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.., ผู้อำนวยการ…, คณบดีคณะ…,         2.2 ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*,**,***,****) เป็นตัวยกกำกับท้ายนามสกุลของผู้แต่งทุกคน และ ตัวเลขกำกับตัวยก (1) เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding author), อีเมล (E-mail Address) : ให้ใส่เฉพาะผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  3. บทคัดย่อ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นเนื้อความย่อตามลำดับโครงสร้างของบทความ ได้แก่ ความเป็นมาและเหตุผล วัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ บทคัดย่อภาษาไทยไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ และภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ เช่นเดียวกัน ใช้ภาษารัดกุม เป็นประโยคสมบูรณ์มีความหมายในตัวเองโดยไม่ต้องหาความหมายต่อ ไม่ควรมีคำย่อในภาษาอังกฤษและต้องเป็นประโยคอดีต
  4.  คำสำคัญ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษวางไว้ท้ายบทคัดย่อ และ Abstract
  5. บทนำ เป็นการแสดงถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภูมิหลังและเหตุผล (background and rationale) เป็นส่วนของบทความที่บอกเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษา ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้ผู้อ่านทราบถึงปัญหา ลักษณะและขนาดของปัญหาที่นำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ หากมีทฤษฎีที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการศึกษาอาจวางพื้นฐานไว้ในส่วนนี้
  6. วัตถุประสงค์คำถามการวิจัย หรือ สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  7. ขอบเขตงานวิจัย ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านเนื้อหา คือ ตัวแปร หรือจะเป็นวัตถุประสงค์ 2) ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คร่าว ๆ 3) ด้านพื้นที่ที่ศึกษา....4) ด้านระยะเวลาทีศึกษา
  8. กรอบแนวคิด โดยกรอบแนวคิด ควรมีแนวคิดทฤษฏีที่นำมาใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
  9. วิธีดำเนินการวิจัย ให้บอกรายละเอียดของสิ่งที่นำมาศึกษา เริ่มด้วยรูปแบบแผนการศึกษา (study design) เซ่น descriptive หรือ quasi-experiment                                                                      - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายหรือแบบหลายขั้นตอน รวมถึงวิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา (interventions)                - เครื่องมือที่ใช้       -  การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การทดสอบความน่าเชื่อถือ วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล        - การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ซึ่งอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิงปริมาณขึ้นอยู่กับประเภทของการวิจัย
  10. การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการวิจัยในมนุษย์ (Ethical committee approval) โปรดระบุว่าผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการชุดใดบ้างและเมื่อไร และให้ระบุเลขที่ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการวิจัยดังกล่าว
  11. ผลการวิจัย แสดงผลของการวิจัย และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้นๆ อาจมีภาพ ตาราง และแผนภูมิประกอบให้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย ไม่ควรเสนอตารางเป็นภาพถ่าย
  12. อภิปรายผล เป็นการให้ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับผลการศึกษาที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลงานวิจัย  รวมทั้งควรให้ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไปด้วย
  13. ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้
  14. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
  15. เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการแสดงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ถูกนำมาอ้างอิงขึ้นมาใช้ในการวิจัย เพื่อเป็นการแสดงว่าไม่ได้นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  รายการเอกสารอ้างอิงในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย  ผู้เขียนต้องเปลี่ยนรายการเอกสารอ้างอิงให้เป็นอังกฤษที่ตรงตามต้นฉบับและเพิ่ม “(in Thai)” ท้ายรายการอ้างอิงนั้นๆ ด้วย การเขียนเอกสารอ้างอิงให้ใช้การอ้างอิงระบบ APA (7th) edition style ให้เรียงลำดับตามตัวอักษร ตัวอย่างการเขียนรูปแบบอ้างอิงมีรายละเอียด ดังนี้

หนังสือ

ผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ชื่อเมือง: สำนักพิมพ์.

ผู้แต่ง 1 คน 

Smith, J. D. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ผู้แต่ง 2 คน

Smith, J. D., & Johnson, A. B. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ผู้แต่งมากกว่าสามคน

Smith, J. D., Johnson, A. B., & Williams, C. D. (2019). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

ไม่ปรากฏผู้แต่ง:

National Institute of Health. (2020). Healthy Living: A Guide to Wellness. Washington, DC: Author.ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์

Smith, J. D. (n.d.). Understanding Health: A Comprehensive Guide. New York, NY: Academic Press.

อ้างอิงตามรูปแบบ APA 7 จะต้องคั่นระหว่างข้อมูลแต่ละส่วนด้วยจุลภาค และระหว่างชื่อผู้แต่งกับปีจะใช้วงเล็บ หากมี DOI ควรใส่ URL ของ DOI ตามด้วย "https://doi.org/" และตัวเลข DOI โดยไม่ต้องใส่วงเล็บ.

 บทความวารสาร

ผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, เล่ม(หมายเลขฉบับ), หน้าเริ่มต้น-หน้าสุดท้าย. DOI/URL

         Smith, J. D., & Johnson, K. L. (2022). Understanding the effects of social media on adolescent mental health. Journal of Adolescent Health, 40(3), 102-115. https://doi.org/10.1016/j.jadohealth.2022.02.015

Munsrakeat, K., Rawiworrakul, T., & Lagampan, S. (2019). Effects of Self-Management Program for Glycemic Control Among Insulin Depen-dent Type 2 Diabetes Patients. The Journal of Baromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima, 25(2), 87-103. http://journal.knc.ac.th/pdf/25-2-2562-6.pdf. (in Thai)

Kaewnete, T. (2023). The Effectiveness of Health Promotion Programs among Patients with

Uncontrolled Diabetes Mellitus. Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University, 3(1), 54-67. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/STJS/article/view/259412/176457. (in Thai)

Williams, G. C., Freedman, Z. R., Deci, E. L. (1998). Supporting autonomy to motivate patients with diabetes for glucose control. Diabetes Care, 21, 1644-1651. doi: 10.2337/diacare.21.10.1644.

เว็บไซต์

ผู้เขียน/ชื่อผู้รับผิดชอบ. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง [รหัส]. ชื่อเว็บไซต์. URL

Smith, J. (2020). How to Bake the Perfect Chocolate Cake [Video]. Baking Tips.  https://www.bakingtips.com/perfect-chocolate-cake

yan, R. M., Williams, G. C., Patrick, M. H., & Deci, E. L. (2009). Self-determination theory and

physical activity: The dynamic of motivation in development and wellness. Hellenic Journal of Psychology, 6, 107-124. http://www.pseve.org/journal/Articlesview.asp?key=107

The Royal College of Physicians of Thailand. (2023). Clinical Practice Guideline for Diabetes

  1. https://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/bukhlakr-thangkar-phaethy/cpg/naewthang-wech-ptibati-sahrab-rokh-bea-hwan-2567. (in Thai)

    หากไม่มีผู้เขียนที่ระบุในเว็บไซต์ สามารถใช้ชื่อของเว็บไซต์แทนได้ และหากไม่มีปีที่เผยแพร่ ให้ใช้ "n.d." (ไม่มีปี) แทน ตัวอย่างเช่น:

Baking Tips. (n.d.). How to Bake the Perfect Chocolate Cake [Video]. https://www.bakingtips.com/perfect-chocolate-cake