Cultural Heritage as Religious Places and Artifacts: Crisis and Management

Main Article Content

Phramaha Apai Thitaweeriyo

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง “มรดกวัฒนธรรมในฐานะศาสนสถานและศาสนวัตถุ : วิกฤติการณ์และการจัดการ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดมรดกวัฒนธรรมที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุ 2) เพื่อศึกษาสภาพวิกฤติการณ์มรดกวัฒนธรรมที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุ 3) เพื่อเสนอแนวทางจัดการมรดกวัฒนธรรมที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดมรดกวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุทางพระพุทธศาสนา คือ สิ่งก่อสร้างที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ เจติยสถาน พุทธสถาน สังฆสถาน บริวารสถานและอนุสรณ์สถาน (2) สภาพวิกฤติการณ์ปัญหามรดกวัฒนธรรมที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่สำคัญ มีปัญหาด้านกฎหมาย ปัญหาด้านการจัดการ ปัญหาด้านการมีส่วนร่วม (3) แนวทางจัดการมรดกวัฒนธรรมที่เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุ 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการบริหารจัดการเชิงนโยบาย การจัดการตามอนุสัญญาว่าด้วยมรดกโลก และการจัดการตามกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์ศาสนสถานและศาสนาวัตถุ 2) รูปแบบการจัดการมรดกวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม การจัดการประสานความร่วมมือของพระสงฆ์ หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ชุมชนท้องถิ่นและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์เป็นศาสนสถานและศาสนาวัตถุ 3) รูปแบบการจัดการมรดกวัฒนธรรมภายในวัดเชิงพื้นที่ การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และการสร้างเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ศาสนสถานและศาสนาวัตถุ

Article Details

บท
บทความวิจัย