The การเสริมสร้างความสุขของเยาวชนจากครอบครัว: ภาพสะท้อนจากนวนิยาย

Main Article Content

Alapa Muangsri

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทครอบครัวที่มีต่อตัวละครในนวนิยาย 5 เรื่อง ได้แก่ ไม้ป่า ไม้แปลกป่า    ไม้อ่อน    ไม้เมือง   และ ไม้ดัด    2) วิเคราะห์สภาพปัญหาของเยาวชนที่ปรากฏในนวนิยาย 5 เรื่อง และ 3) ศึกษาทัศนะของผู้ประพันธ์ที่มีต่อบทบาทครอบครัวในนวนิยาย 5 เรื่อง  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


            ผลการวิจัยพบว่า  1)บทบาทครอบครัวที่มีวิธีการเลี้ยงดูแบบมีเหตุผลเป็นรูปแบบการเลี้ยงดูที่มีประสิทธิภาพที่สุด และมีผลเชิงบวกต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นแบบมีเหตุผล จะส่งผลให้มีสุขภาพจิตดี มีวินัยในตนเอง มีความรู้สึกต่อคุณค่าของตัวเองสูง  ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ พึ่งพาตนเองได้ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจ กล้ากระทำในสิ่งที่ถูกที่ควร รับฟังเหตุผลของผู้อื่น มักประสบความสำเร็จในการเรียน และมีทักษะชีวิตสูง  2) สภาพปัญหาของเยาวชนที่ปรากฏในนวนิยาย 5 เรื่อง ได้แก่ ไม้ป่า  ไม้แปลกป่า  ไม้อ่อน  ไม้เมือง  และไม้ดัด  พบว่า มีปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวละครเยาวชน ดังนี้: ปัญหาการฆ่าตัวตาย  ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันเหมาะสม ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเด็กซิ่งเด็กแว้น และปัญหารักร่วมเพศ นวนิยายที่นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนจำนวนปัญหามากที่สุด ได้แก่ เรื่อง ไม้ดัด เพราะนวนิยายเรื่องนี้ต้องการแสดงผลของการเลี้ยงดูแบบเผด็จการ และนวนิยายที่นำเสนอปัญหาที่รุนแรงที่สุด คือ เรื่องไม้ป่า ที่นำเสนอผลของการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และรักตามใจ  3) ทัศนะของผู้ประพันธ์ที่มีต่อบทบาทครอบครัวในนวนิยาย 5 เรื่อง พบว่า ผู้ประพันธ์ทั้ง 5 ท่าน ต่างก็ให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดู ครอบครัวจะเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพสามารถสร้างเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ เพราะลูกคุณภาพย่อมเกิดจากพ่อแม่คุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย