การพัฒนานโยบายและศักยภาพขององค์กรชุมชนในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

Ubol Wuthipornsopon
Phrakrubaideegha Apichat Dhammasuddho
Phramaha Kraiwan Chinatuttiyo
Phrakru patomtherawat
Phrapalad Somchai Payago
Patcharawalai Suppa

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษานโยบายและประสิทธิผลในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูง อายุขององค์กรชุมชน 2) เพื่อค้นหากิจกรรมที่บูรณาการตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงขององค์กรชุมชน 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี


ผลการวิจัย พบว่า


1) นโยบายและประสิทธิผลในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชนของกลุ่มอสม.กลุ่มบทบาทสตรี และเทศบาลเมืองไร่ขิง เช่น 1) ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานการพิทักษ์คุ้มครอง การเข้าถึงบริการของรัฐ 2) ผู้สูงอายุต้องได้รับการส่งเสริมให้อยู่กับครอบครัวและมีผู้ดูแล 3) ผู้สูงอายุต้องมีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองตลอดชีพ 4) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตน เองได้โดยสร้างรายได้ของตนเองและมีระบบเครือข่ายเกื้อหนุนกัน เป็นต้น  และนโยบายที่ไม่ดำเนิน การเลยคือ รัฐมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคม ในการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานและบุคลากรด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการระดับชาติ รวมทั้งประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุผลตามเป้าหมาย


2) กิจกรรมที่บูรณาการตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้หลักพุทธธรรมไตรสิกขา คือ ด้านศีล ได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติธรรมพัฒนาด้านกายและวาจา ด้านสมาธิได้ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำสมาธิ ดูแลสุขภาพกายและใจ ฝึกจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง ฝึกปล่อยวางทำให้มีความสงบสุข  ด้านปัญญา ดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาทรู้เท่าทัน มีสติอยู่เสมอมีความรู้ความเข้าใจในตัวเองมีเหตุผลมากขึ้น นำปัญญามาควบคุมพฤติกรรม
3) การเสริมสร้างเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน ประกอบด้วย 1) องค์กรชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยมีแผนการดำเนินงานด้านยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน 2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน และ 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kongkhuntod, A. (2016). The concept of human resource development by threefold training. Journal of Graduate Studies Review, 12 (3), 64-79.
Mansumitrchai, P. (2015). Mercy Message : A Path to Peach. Journal of MCU Peace Studies,
3 (2), 162-175.
Office of the National Economics and Social Development Board. (2010). The framework of social welfare direction sustainable quality plans 11. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Board.
Phalasuek, R. and Thanomchayathawatch, B. (2017). A Family Model for Older People Care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4 (3), 135-150.
Phra Plakorn Sumanggalo. (2016). The Relationship Between Law And Morality, Ethics, Religion And Tradition. Dhammathas Academic Journal, 16 (3), 277-289.
Saengthong, J. (2017). Aging Society (Complete Aged): The elderly condition of good quality. Rusamilae Journal, 38 (1), 6-28.
Sindecharak, T. (2015). Elderly in Chinese Society: Welfare Services, Model for Elderly Care and Social Activity. Thammasat Journal, 34 (2), 2015. 1-32.
Sudsomboon, S. (2014). Social Welfare for Aging People in Thailand. Journal of Southern Technology, 7 (1), 73-82.
Terry, George R. (1977). Principles of Management. Illinois: Richard D. Irwin.