การจัดการภาวะวิกฤติของการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศไทย

Main Article Content

Nitinai Niyomwan

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากผลการวิจัยเรื่องการพัฒนากลยุทธ์ในการควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญ คดียาเสพติดให้โทษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะวิกฤติของสภาพการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศไทย  2) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการควบคุมผู้ต้องขังของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน  3) นำเสนอแนวทางการจัดการภาวะวิกฤติของสภาพการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศไทย ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ทุติยภูมิจากเอกสารรายงานการดำเนินงานของรัฐต่อสาธารณะรายปีของกรมราชทัณฑ์ ระหว่างปีพ.ศ.2557 – 2559 และข้อมูลเกี่ยวกับความจุผู้ต้องขังกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมาและฟิลิปปินส์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศไทย กลุ่มเรือนจำประเภทเรือนจำจังหวัดมีดัชนีความวิกฤตโดยเฉลี่ยสูงที่สุด กลุ่มเรือนจำประเภททัณฑสถานมีดัชนีความวิกฤติโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด  เมื่อพิจารณาแบ่งตามเขตการบริหารเรือนจำ พบว่าเขตการบริหารที่ 10 มีดัชนีความวิกฤติน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนพบว่าประเทศไทยมีดัชนีความวิกฤติในเกณฑ์วิกฤติน้อย รองจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย  สำหรับแนวทางการจัดการภาวะวิกฤติของการควบคุมผู้ต้องขังในประเทศไทยในเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ การทบทวนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ การใช้มาตรการทางเลือกแทนการลงโทษจำคุกในเรือนจำ แนวทางในเชิงการจัดการ คือ การพัฒนาระบบการจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง ระบบการพัฒนาพฤตินิสัย ระบบการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย การปรับปรุงโครงสร้างเรือนนอนและสร้างเรือนนอนขึ้นใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย