รูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักไตรสิกขา

Main Article Content

Phakhrupraphattammakit Thuachob
Nopparat Chairueng
Chumrurn Chuchoysuwarn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานในปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการบริหาร สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหาร และตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักไตรสิกขา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารและครูประจำจำนวน 307 รูป/คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) และผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญการบริหารจำนวน 5 รูป/คน โดยเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Need Index แบบปรับปรุง (PNI Modified) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การศึกษาสภาพการดำเนินงานในปัจจุบันของการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาและครูประจำ พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (=2.93) และ (S.D.=1.22) ส่วนความต้องการในการพัฒนาการบริหารอยู่ในระดับมาก (=3.71) และ (S.D.=1.00)

  2. รูปแบบการพัฒนาการบริหารมี 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ มีดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ของการบริหาร 2) หลักการพื้นฐานของการบริหาร และ 3) เป้าหมายของการบริหาร ส่วนที่ 2 โครงสร้างของรูปแบบการบริหารของโรงเรียน มีดังนี้ 1) ด้านศีล มี 2 องค์ประกอบ 2) ด้านสมาธิ มี 2 องค์ประกอบ และ 3) ด้านปัญญา มี 2 องค์ประกอบ โดยรูปแบบเป็นรูปแบบเชิงเหตุผล และทำการนำองค์ประกอบที่ได้มาสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล ส่วนที่ 3 กระบวนการนำไปใช้ เงื่อนไขและข้อจำกัด มีดังนี้ 1) การเตรียมการ 2) การสร้างความตระหนัก 3) การวางแผนดำเนินการ 4) การดำเนินการ และ 5) การประเมินผล

  3. การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.38) และ (S.D.=0.65) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการบริหารในระดับมาก (=4.25) และ (S.D.=0.74)

Article Details

บท
บทความวิจัย