แนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย

Main Article Content

Anan Thamchalai

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการความเสี่ยง ศึกษาระดับการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและระดับผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยง วิเคราะห์ปัจจัยการจัดการธุรกิจที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยง และนำเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทย ซึ่งใช้การวิจัยแบบผสมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามจำนวน 260 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ผู้จัดการและหน่วยงานภาครัฐจำนวน 17 คน พบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมียังคงมีการใช้เครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐานจากทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป 2) ระดับการจัดการธุรกิจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และระดับผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยงโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลทั่วไปของบริษัททุกด้านพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการธุรกิจฯที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยงโดยรวม สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ร้อยละ 32.4 ในขณะที่ปัจจัยการจัดการธุรกิจฯด้านการวางแผน และด้านการควบคุมส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้านการจัดองค์กร และด้านการประสานงานส่งผลต่อการจัดการด้านผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) แนวทางการจัดการความเสี่ยงสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศไทยประกอบด้วย (1) มาตรการในการลดความเสี่ยง (2) มาตรการในการป้องกันความเสี่ยง และ(3) มาตรการในการแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิจัย