การพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมเพื่อจัดการความโกรธของวัยรุ่นด้วยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

Rungrat Suvanakkul
Khanthong Wattanapradith
Banjob Bannaruji

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกการจัดการความโกรธของวัยรุ่นโดยการพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมด้วยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อนำเสนอผลการจัดการความโกรธของวัยรุ่นที่เข้ารับกิจกรรมชุดฝึกอบรมฯ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีคะแนนการจัดการความโกรธระดับต่ำ-ปานกลาง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดฝึกอบรมการจัดการความโกรธของวัยรุ่น แบบสำรวจการจัดการความโกรธ แบบประเมินสติ แบบบันทึกการฝึกสติและการจัดการความโกรธ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง


ผลการศึกษาพบว่า ชุดฝึกการจัดการความโกรธของวัยรุ่น ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นด้วยการพัฒนาเทคนิคการปรับความคิดและพฤติกรรมโดยบูรณาการกับหลักสติ กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ขันติและเมตตา เพื่อให้เกิดการแปรเปลี่ยนความโกรธเป็นพลังที่สร้างสรรค์  โดยชุดฝึกอบรมฯ เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ และเข้าใจอารมณ์ของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกทักษะและทำการบ้าน โดยชุดฝึกอบรมฯ ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกสติ 1 กิจกรรม และกิจกรรมการจัดการความโกรธ 10 กิจกรรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากแบบสำรวจการจัดการความโกรธ และแบบประเมินสติสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า R-E-S-T Model  คือ R-Reasoned: การคิดแบบเหตุผลด้วยหลักโยนิโสมนสิการ E-Encourages learning contribute experience: กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ S-Satipatthana: รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกและสภาวะทางกาย ซึ่งกระบวนการฝึกสติในการวิจัยนี้ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น (Start) ฝึกสติระหว่างดำเนินกิจกรรม (Strong) และ ฝึกสติต่อเนื่องหลังจบการทดลอง (Strive) ส่งผลให้เกิด          T-Transform anger: การแปรเปลี่ยนความโกรธด้วยการปลูกฝังเมตตาและความอดทน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aphipanyo, S. and Wongsuwan,N. (2010). The Construction and Development of Model for youth’s Violent Behaviors Adjustment According to Buddhist Approachs. Bangkok: MCU Press, p.2.
Buddhadasa Bhikkhu. (1985). Mindfulness. (2nd ed.). Bangkok: Chakkaranukul Printing.
Goleman D. (1995). Emotional Intelligence: Why it can matter more than IQ. New York: Bantam Book.
Keith S. Dobson. (2010). Handbook of Cognitive Behavioral Therapies. (3rd ed), New York: The Guilford Press.
Panit, V. (2014). To teach children to be good. Bangkok: The Siam Commercial
Foundation.
Pitayasatien, N. et al. (2015). Cognitive Behavioral Therapy for violent Juveniles.
Bangkok: Chula Unisearch, Chulalongkorn University.
PhramahaPrasert Aggatejo. (2016). The Way to Apply Peace Dhamma for EnchancingPeace
of the School Youth :A Case Study of Rajmontri School (Pleume – Chuamnugoon).
Master of Arts (Peace Studies), Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Bangkok.
Rakmaneewong ,Y. et al. (2013). Effect of Group Cognitive Behavioral Therapy Program Combining with Breathing Meditation on Nursing Students’s Anxiety. Naresuan University Journal, 21(1), 41-42.
Ruangtrakul, S. (2004). Stress and Psychiatric Symptom. Bangkok: Ruenkaew Printing.
Silpakit, O. (2015). The invention of mindfulness assessment scale. Doctor of Arts (Buddhist
Studies). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.
Sriswat, S. et al. (2016). Control anger on a daily basis according to Buddhadhamma.
Ramkhamhaeng. University Journal Humaities, 35 (2), 215.
Sukcharoen, S. (2010). The Effect of Group Counseling on Anger Coping of Adolescents. Master of Education (Guidance and Counseling Psychology), Srinakharinwirot University. Bangkok.
Wattanapradith, K. et al. (2017). The Holistic Development of Mind and Wisdom: Documentary Study and Research Synthesis. Bangkok: MCU Press, pp. 146-147.