รูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี

Main Article Content

คชาภรณ์ คำสอนทา
พระราชปริยัติกวี
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการระงับอธิกรณ์ของ         คณะสงฆ์ไทย 2) ศึกษาหลักการวิธีการระงับอธิกรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายคณะสงฆ์ 3) นำเสนอรูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี ในการวิจัย    ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)


          ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านการบริหารงานการปกครองคณะสงฆ์ในข้อการจัดการปัญหาอธิกรณ์ข้อขัดแย้งของคณะสงฆ์อยู่ในอันดับต่ำสุด ( =3.27, S.D.=0.826) และด้านความรู้ความเข้าใจวิธีการและกระบวนในการระงับอธิกรณ์ใน ข้อท่านได้ใช้วิธีการตามหลักกฎหมายคณะสงฆ์ระงับอธิกรณ์เพียงใด อยู่ในอันดับต่ำสุด ( =3.56, S.D.=0.714) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสังภาษณ์เชิงลึก 2) หลักการวิธีการระงับอธิกรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและกฎหมายคณะสงฆ์มีความสอดคล้องกันในตัวกระบวนการถึงจะแตกต่างกันบ้างในเรื่องของ       ผู้ใช้อำนาจและตัวเครื่องมือ 3) รูปแบบการระงับอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ไทยตามหลักพุทธสันติวิธี      พบองค์ความรู้ด้วย Model 5 Right เพื่อสังฆะสันติสุข ได้แก่ (1) Right Dhamma คือ อธิกรณ์ระงับถูกต้องด้วยธรรม (2) Right Vinaya คือ อธิกรณ์ระงับถูกต้องด้วยวินัย (3) Right Stakeholders คือ วิธีการแห่งความพร้อมหน้า (4) Right Person คือ ผู้ระงับอธิกรณ์เป็นผู้ที่รู้จักตน รู้จักหน้าที่ รู้จักการทำหน้าที่ (5) Right Process คือ การระงับอธิกรณ์ถูกต้องครบถ้วนกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kachaporn K. (2014). A study of the methof and process for conflict management in Theravada Buddhism. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Lugthong p. (2012). An Appication of Buddhist Management for Conflict in the Vinaya Pitaka and Management of Conflict of the Adminis Trative court. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitaka: Thai version. Bangkok: MCU Press.

Pruangkan, P. (2018). Justice in Disciplinary Punishment in View of Theravada Buddhist Philosophy. Dissertation Doctor of Philosophy (Philosophy). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Raksasook, K. (2015). Thai court Ruling and Monastic Discipline Procedures. Dissertation Doctor of Philosophy (Buddhist studies). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Silapajarn T. (2009) Research and statistical data analysis. Bangkok: Bussiness R & D, Printing Group.