การศึกษาแนวทางการกำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลในประมวลกฎหมายอาญา

Main Article Content

วิทยา เบ็ญจาธิกุล

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีปัญหาการบังคับใช้โทษทางอาญากับนิติบุคคลที่กระทำความผิดหลายประการ อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษกับผลกระทบต่อนิติบุคคล ปัญหาความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ ปัญหาเกี่ยวกับประเภทของโทษ เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศพบว่า ในต่างประเทศต่างมีการกำหนดโทษอาญาสำหรับนิติบุคคลแยกต่างหากจากโทษอาญาสำหรับบุคคลธรรมดาและมีรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมกับนิติบุคคล จึงจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับการลงโทษนิติบุคคล ปัญหาการบังคับใช้โทษและแนวทางที่เหมาะสมในการตรากฎหมายสำหรับประเทศไทย และจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อกำหนดโทษทางอาญาสำหรับนิติบุคคลเป็นการเฉพาะในประมวลกฎหมายอาญาแยกออกจากโทษทางอาญาสำหรับบุคคลธรรมดา บนสมมติฐานที่ว่า การลงโทษอาญาที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษกับผู้กระทำความผิดที่เป็นนิติบุคคล จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการลงโทษและยับยั้งการกระทำความผิดที่เกิดจากนิติบุคคลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Borricand, J. (1997). World Facebook of Criminal Justice Systems: France. State University of New York at Albany. Retrieved Nov 12, 2018, from http://www.ojp.usdoj.gov/bjs/pub/ascii/wfbcjfra.txt

Fitzgerald, P.J. (1962). Criminal Law and Punishment. Oxford: Oxford University Press.

Likasitwatanakul, S. et al. (2015). A Comparative study of Legal Person and Legal Person’s Representative Criminal Liability of Thailand. Executive Director’s Office of Thailand Criminal Law Institute, Department of Technical Affairs, Office of the Attorney General: Thammasat University Press.

Phanpan, R. (2010). Corporate Criminal Liability: Case Study of Corporate Manslaughter. Bangkok: Thammasat University.

U.S. Code. (2019). Title 18 Crimes and Criminal Procedure. Retrieved May 3, 2019, from https://www.law.cornell.edu/uscode/text/18.

Wanikkun, B. (1959). Explanation of The Civil and Commercial Code books 1-2 article 1-240. Bangkok: Thai Bar Association.