แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนน

Main Article Content

วรรณ์มงคล ศิลาประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาพรวมในอนาคตของธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนน 2) ลักษณะของอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนในอนาคต 3) เกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาในการผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน และ 4) กระบวนการยื่นเสนอราคาของผู้รับเหมาในการผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนที่มีประสิทธิภาพ สุจริต และยุติธรรม  การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนนจำนวน 17 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สัมภาษณ์ 3 รอบ แต่ละรอบห่างกัน 2 เดือน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าความถี่ ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์เพื่อพิจารณาระดับความสำคัญ และความคงที่ของความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่คาดการณ์อนาคตสามครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านภาพรวมในอนาคตของธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนน สิ่งที่ช่วยให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน คือ การค้นคว้าวิจัยเพื่อทดสอบคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และระบบดิจิทัลที่ก้าวหน้า 2)ในอนาคต อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนจะเปลี่ยนแปลงไปตามการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ จะมีการนำไฟฟ้าจากระบบโซ่ล่าเซลล์มาใช้มากขึ้น จะมีการวิจัยเพื่อค้นหาอุปกรณ์และเทคโนโลยีร่วมสมัยที่หลากหลายมาใช้ภายใต้มาตรฐานที่สูงขึ้น และคุณภาพของบุคคลากรด้านการผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนจะมีมาตรฐานสูงขึ้น 3)ในอนาคตจะมีระบบที่เข้มงวดในการคัดเลือกผู้รับเหมาในการผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน โดยคัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ โดยเฉพาะมีวิศวกรที่มีประสบการณ์ และมีการกำหนดให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 อย่างเคร่งครัด และ 4) กระบวนการยื่นเสนอราคาเพื่อจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมาผลิต ติดตั้ง และซ่อมแซมบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนจะใช้ระบบอิเลคทรอนิคทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงการค้ำประกันงานโดยเพิ่มเวลาให้มากขึ้น รวมทั้งจะมีเทคนิคการตรวจสอบใหม่ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนน โดยต้องมีการค้นคว้าวิจัยอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและระบบดิจิทัลร่วมสมัย และหน่วยงานผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนนต้องเตรียมการ และดำเนินผลิตอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในอนาคต การดำเนินการดังกล่าวนี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน และเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonratmaitree. A. (2017). Paradigm of Road Safety Management. Social Sciences Journal. 7(1), 1-15.

Hakkanen, H., & Summala, H. (2000). Sleepiness at Work among Commercial Truck Drivers. Retrieved September 24, 2016, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10678465.

National Statistical Office. (2008). Number of Registered Populations in Bangkok by National Statistic Office. Retrieved September 24, 2016, from http://www.mot.go.th.

Nielsen, K. J. (2014). Improving Safety Culture through the Health and Safety Organization: A Case Study. Journal of Safety Research, 48, 7-17.

Sitachitta, P. (2008). Application of Geographic Information System-GIS for Database Development the Historic Buildings and Structures in the Municipality Of Phuket. Journal of Safety Research, 37, 93-98.

Sompaeng, A. (2017). How Road Safety Paradigm Shift Can Affect the Road Safety’s Policy. The Journal of Social Communication Innovation, 5(1), 117-224.

World Health Organization. (2012). World Report on Road Traffic Injury Prevention. Geneva: World Health Organization.