บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่

Main Article Content

ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์
สุทธิพงศ์ บุญผดุง
ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของทรัพยากรการท่องเที่ยว นโยบายแผนการปฏิบัติ สมรรถนะของหน่วยงาน กลไกสนับสนุน และประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอป นวัตวิถี จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทรัพยากรการท่องเที่ยว นโยบายแผนการปฏิบัติ สมรรถนะของหน่วยงาน และกลไกสนับสนุน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยใน 32 หมู่บ้าน ใน 8 อำเภอ ที่ได้รับการคัดเลือกตามการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่ จำนวน 340 ราย ได้จากการเลือกแบบมีสัดส่วน และทุกหน่วยของประชากรมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง ใช้เครื่องมือทางเทคนิคสถิติและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบุพปัจจัยตามความคิดเห็นประชาชนอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย โดยระดับประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือระดับทรัพยากรการท่องเที่ยว ระดับสมรรถนะของหน่วยงาน ระดับกลไกสนับสนุน และระดับนโยบายแผนการปฏิบัติ ตามลำดับ 2) อิทธิพลของทรัพยากรการท่องเที่ยว นโยบายแผนการปฏิบัติ สมรรถนะของหน่วยงาน และกลไกสนับสนุน ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 3) แนวทางในการส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี จังหวัดแพร่ พบว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวมีความสำคัญจะต้องมีการปรับทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ ภายในแหล่งท่องเที่ยว แต่คงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ภายในชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Collier, A., & Harraway, S. (1997). Principle of Tourism. Auckland: Longman Paul.

Community Development Department. (2018). Guidelines for the operation of the OTOP Tourism Community Innovation Project. Bangkok: Community Development Department, Ministry of Interior.

Community Development Department. (2019). Strategic driving Community Development Department Budget year 2019. Retrieved March 2, 2019, from http://cddadg.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/101/2018/10/

Edgar, H. S. (1970). Organizational Psychology. (2nd ed.). NJ: Prentice-Hall.

Educational Change, Vol III: The Process of Change. Santa Monica: Rand.

Etzioni, A. (1964). Modern Organization. Englewood Cliffs, NY: Prentice – Hall.

Greenwood, P.W., Mann, D., & McLaughlin, M.W. (1975). Federal Programs Supporting.

Greenwood, W. T., Judd, R. & Becker, W. F. (1988). Prepared under the Auspices of the Policy.

Kotler, P., & Armstrong, G.. (1989). Principles of Marketing. NY: Prentice-Hall.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Tourism and Sports. (2015). Tourism Economic.

Pholsrilert, P. (2013). Strengthening the organization with the 3 C (Competency, Capability, Capacity). Retrieved January 5, 2019 from https://phongzahrun.wordpress.com/2012/01/18/

Provincial Community Development Office of PHRAE. (2018). kick off OTOP Innovation Tourism Village. Retrieved January 5, 2019. from http://district.cdd.go.th/muangphrae/2018/07/02/

Sangmaneewan, P. (2011). Ecotourism Management of Tha Papao Village, Thapladuk Subdistrict, Maetha District, Lamphun Province. Chiang Mai: Chiang Mai University. Studies Organization. NY: Greenwood.

ThaiRath Online. (2017). Travel to Local City 55 Provinces, TAX Deduction is not over fifteen thousand baths, starting 1 January. Retrieved January 5, 2019, from https://www.thairath.co.th/content/1163068