กระบวนการพัฒนาชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

Chuchat Sutta

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการพัฒนาชีวิตตามแนววิทยาการสมัยใหม่ (2) กระบวนการพัฒนาชีวิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) นําเสนอกระบวนการพัฒนาชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาชีวิตตามแนววิทยาการสมัยใหม่ อาทิ จิตวิทยาของมาสโลว์ เชื่อว่า การพัฒนาตนให้สมบูรณ์จะต้องตอบสนองความต้องการไปตามลำดับ จากความต้องการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ สู่ความต้องการระดับสูงที่สามารถเข้าใจตนเองและโลกได้อย่างถ่องแท้ ส่วนแนวคิดสุขภาพองค์รวม เชื่อว่า สุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากการพัฒนาองค์ประกอบทุกส่วนของชีวิตไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุล ทั้งทางกาย สังคม จิต และจิตวิญญาณ 2) กระบวนการพัฒนาชีวิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท เชื่อว่า มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้สมบูรณ์สูงสุด จนบรรลุอรหันตผลได้ โดยการปฏิบัติตามหลักธรรม อาทิ มงคลสูตร ซึ่งแบ่งเป็น การพัฒนาชีวิตในระดับต้น คือ มงคลข้อ 1 - 18 ระดับกลาง คือ มงคลข้อ 19 - 30 และระดับสูง คือ มงคลข้อ 31 - 38  3) กระบวนการพัฒนาชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ ตามนัยมงคลสูตร จึงแบ่งได้ดังนี้ การพัฒนาชีวิตในระดับต้น 5 ขั้นตอน คือ (1) ปลูกมาตรฐานทางความคิด (2) สร้างชีวิตบนปัจจัยพื้นฐาน (3) ฝึกตนให้มีความชำนาญการ (4) ทำงาน/บริหารครอบครัว (5) สงเคราะห์มวลประชา ระดับกลาง 3 ขั้นตอน คือ (1) ปรับสภาพจิตใจให้พร้อม (2) น้อมนำธรรมะเบื้องต้นใส่ตน (3) เริ่มค้นคว้าธรรมะเบื้องสูง และในระดับสูง 2 ขั้นตอน คือ (1) การมุ่งปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลส (2) เพียรถึงเขตจิตเกษม สุขสันต์ นิรันดร

Article Details

บท
บทความวิจัย