สันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการส่งเสริม องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

อภิชาติ กุลพงษ์วาณิชย์
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
บรรณจบ บรรณรุจิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา และสาเหตุ ปัญหาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในองค์กรธุรกิจ 2) เพื่อเสนอรูปแบบสันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการส่งเสริมองค์กรอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมของบริษัท เถ้าแก่น้อยฯ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีผู้ให้ข้อมูล สำคัญ 18 คน/รูป และการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน/รูปท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเกิด “อคติ” ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมจากโรงงานที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง รวดเร็ว และขาดการประชุมร่วมกัน ทำาให้เกิดการร้องเรียนกับหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นตาม ลำาดับ หลักพุทธสันติที่นำามาใช้ในการแก้ปัญหา คือ สาราณียธรรม ใช้การสานเสวนาเพื่อส่งเสริมให้ระบบการ บำารุงรักษาทวีผลแบบมีส่วนร่วม (TPM) ทำางานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการแก้ไขปัญหาขององค์กรควรใช้กลไก “เชิงรุก” และ “เชิงรับ” เชิงรับ คือ สร้างจิตสำานึกในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และกำาหนดนโยบาย การออกพื้นที่สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ร่วมกันแก้ปัญหาด้วยระบบเทคโนโลยีทันสมัย โดยชุมชนมีส่วนร่วมในเชิงรุก คือ มาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา กำหนดธรรมนูญอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับชุมชน และหน่วยงานภาครัฐเข้า ร่วมรับทราบ ควบคุมและกำกับการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมขจัดความขัดแย้งโดยสันติ วิธี ผ่านการ (1) แก้ปัญหาน้ำเสียควบคู่ทั้ง “ภายใน” และ “ภายนอก” ของโรงงาน (2) สร้างโอกาสให้ทุก ฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ร่วมประชุม รับฟัง เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด (3) เคารพธรรมนูญที่ถูกตั้งขึ้น มาร่วมกัน (4) ปลูกฝังปรับจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม การเจรจา โดยปราศจากความรุนแรง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anantaprayoon, A. (2015). The Application of the Saraniyadhamma to Conflict Management in Khaokheow Open-Zoo Community, Chonburi Province. Master of Art. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Taokaenoi Food and Marketing Public Company Limited. (2017). Corporate Social Responsibility. Retrieved October 20, 2018, From http://investor-th.taokaenoi.co.th/misc/cg/20180420-tkn-csr-th.pdf

Villagers. (2018). Community around the Taokaenoi Food and Marketing Public Company Limited, Interview, October, 27.

Environmental Agency. (2018). Environmental Agency in Taokaenoi Food and Marketing Public Company Limited, Interview, October, 22.

Constitution of the Kingdom of Thailand. (2007). Section 67. Retrieved October 20, 2018, from https://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/download/article/article_20180829093502.pdf

Don Kaew. (2016). Project for centralized wastewater treatment system for community wastewater that is attached to public mines. Don Kaew Sub district Administration Organization. Retrieved October 20, 2018, from https://www.unescap.org/sites/default/files/Session-2-Donkaew-Chiangmai.pdf

Environmental Division of the Supreme Court. (2017). Department of Environmental Law, 2005 – 2015. Retrieved May 30, 2018, from http://www.peopleunitynews.com/

Jitharn, Y. (2010). Study of Critical success Factors for TPM Implementation in JIPM Award Winners. Faculty of Engineering. Thammasat University.

Kitti, C. (2012). Employee participation CPF (Thailand) Public Company Limited Animal feed production plant in Lamphun for TPM activities towards quality management (Research report). North-Chiang Mai University.

Petcyoung, A. (2012). Industrial waste management of modern medicine factories, case studies of Bioplastics Company. Independent research. Master of Science. Faculty of Social and Environmental Development. National Institute of Development Administration.

Rattanasre, D. (2010). The Development of learning activities emplacing on mathematics problem solving using noble truths teaching model on piteous theory mattayomsuksa 2 students. Faculty of Education. Khon Kaen University.

Saksirisakul, C. (2016). Critical success factors performance and obstacle for implement total productive maintenance in manufacturing. Faculty of Commerce and Accountancy Thammasat University.

Solving the industrial pollutions by The Four Noble Truths. (2007). Alternative public policy to promote industries that reduce the environmental impact on health. Retrieved May 30, 2018, from https://mgronline.com/qol/detail/9500000007689