การพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

วิทยากรต้นแบบทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นธรรมทูต โดยหมายถึงผู้นำสันติภาพสู่สังคมและ ชาวโลกด้วยการเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยมีวิธีการการเผยแผ่ตามหลักของโอวาทปาติโมกข์ที่ พระพุทธเจ้าทรงใช้การเผยแผ่สำหรับธรรมทูตตั้งแต่พุทธกาลจนถึงปัจจุบัน วิธีการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรง ใช้ได้ผลสำเร็จมากที่สุด คือ “การไม่ว่าร้ายใคร ไม่กระทบกระทั่งใคร” เป็นการสื่อสารธรรมเชิงสันติภาพ เคารพในความแตกต่าง พระพุทธเจ้าใช้วิธีการกระทบธรรมแต่ไม่กระทบคน วิทยากรทางพระพุทธศาสนาจึง ต้องเป็นมิตรกับทุกฝ่าย การพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามแนวทางของพระพุทธศาสนาต้องยึดหลักตามของ โอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหัวใจสำคัญของนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 1) คุณสมบัติเฉพาะตัว วิทยากรต้องยึดมั่นอยู่ในอุดมการณ์ ประกอบด้วย การมีขันติธรรมทางศาสนา มีความใจกว้างในความแตก ต่าง ไม่เบียดเบียนใคร ไม่กระทบกระทั่งใคร 2) เป้าหมายหรือกรอบในการเผยแผ่ วิทยากรต้องยึดหลักการ ประกอบด้วย การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้เพียบพร้อม และการทำจิตของตนให้บริสุทธิ์มีความ สงบ 3) หลักการในการสร้างสัมพันธ์กับสังคม วิทยากรต้องประพฤติปฏิบัติตนดำรงมั่นอยู่ใน วิธีการ ประกาศพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การไม่ว่าร้ายใคร ไม่กระทบกระทั่งใคร ดังนั้น โอวาทปาติโมกข์ถือว่าเป็นคุณสมบัติเป้าหมายหลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของพระพุทธองค์ที่ได้วางรากฐานไว้เพื่องานพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง” ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของ การพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามแนวทางของพระพุทธศาสนา กลุ่มพระปัญจวัคคีย์จึงเป็นพระวิทยากรทาง พระพุทธศาสนาชุดแรกที่พระพุทธเจ้าทรงสร้างขึ้น เพื่อการเผยแผ่ธรรมทางพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Indhasara, W. (2002). Ovāda Pāṭimokkha: Religious Propagation. Bangkok: O.S. Printing House.

Kanphai, K. (2014). Mass Communications in Tripitaka. Bangkok: V. Printing Co., Ltd. Lecturers of Mahachulalongkornrajavidyalaya University (2017). Theravāda Buddhism. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Publishing.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University (2018). Common Buddhist Text Guidance and Insight of the Buddha. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Publishing.

Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Pli Dhamma Publishing Company.

Phra Dhebbodhividhes (Weerayut Vīrayuddho). (2010). Vision of Buddhism Propagation in The Buddhist Land, Reinforce the Quality of life, Increase the Work Efficiency. India-Nepal: Office of Dhammadhuta India-Nepal.

Phramaha Hansa Dhammahāso. (2016). Peace Studies: The Buddhist Path to World Peace. Nonthaburi: Panyachatra Books Binding Co., Ltd.

Phramaha Boonlue Puññago. (2013). The Study of Vipassanā Bhāvanā according to The Ovāda Pāṭimokkha.Thesis of Master of Arts Program in Buddhist Studies. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya Publishing.

Phramaha Bodhivoṅsācār (Thongdee Suratejo). (2016). Buddhism Propagation Determination in Europe. Special lecture given at The Conference of The Union of Thai Sanghas in Europe No. 10th.

Phra Brahmapanḍit (Prayoon Dhammacitto). (2018). Benefaction of Buddhism and The Perfect Human Development. A Special Discourse delivered in The Convocation Ceremony of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Somboon Vuḍḍhikaro. (2014). Religious Toleration A Case of Buddhism. Academic Lecture for The Students of Peace Studies Programme Mahachula.

Phramaha Vudhijaya Vajiramedhi (V. Vajiramedhi). (2012). Ahimsa Magga to Peace. Bangkok: Buddhist Economics University.

Phra Rajapariyatkavī. (1975). Buddhism and Human Development. Panel Discussion on The 15th United Nations Day of Vesak Celebrations.

Phra Brahmapanḍit (Prayoon Dhammacitto). (2014). The Conference of Religious Leaders for Peace in Asian Community. Academic lecture in the Religious Tolerance.

Phra Rajavoramedhī (P.A. Payutto) (2002). Teaching Techniques of The Buddha. Bangkok: Buddha Dhamma Foundation.

Phramaha Pao Tejapañño. (2009). The Policy of Buddhism Propagation: Thesis of Master of Arts Program in Buddhist Studies. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya Publishing.

The Office of Peace and Governance, King Prajadhipok’s Institute. (2012). Dictionary of Conflict and Resolution. King Prajadhipok’s Institute 5th ed.