แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0

Main Article Content

คำนาย อภิปรัชญาสกุล
กัญญามน กาญจนาทวีกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะตัวชี้วัดศักยภาพโลจิสติกส์ในการพัฒนาศักยภาพ การแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย 2) เพื่อศึกษาลักษณะตัวชี้วัด ศักยภาพในการรองรับเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขนั สคู่ วามสำเร็จของ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการ สนทนากลุ่ม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูงของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ และผู้บริหาร ระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐบาล จำนวน 20 คน เลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีค่าดัชนีความสอดคล้องกัน เท่ากับ 1.0 ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันสู่ความสำเร็จของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับ อุตสาหกรรม 4.0 มีดัชนีชี้วัด 4 ด้าน คือ ดัชนีด้านความสอดคล้องระหว่างองค์กรกับกลยุทธ์องค์กร ดัชนี ด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน ดัชนีด้านผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ และดัชนีด้าน การติดตั้งและวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวชี้วัดรวม 22 ข้อ ส่วนแบบประเมินดัชนีชี้วัดความพร้อมในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 มีดัชนีชี้วัด 6 หมวด คือ หมวดกลยุทธ์และการจัดองค์กร โรงงานอัจฉริยะ การดำเนินงานหรือการผลิตอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ การบริการการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ และพนักงาน จำนวน 23 ตัวชี้วัด ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดศักยภาพการแข่งขันสู่ ความสำเร็จของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทยเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 อยู่ในระดับ 4.85 หรือระดับดีถึงดีมาก ซึ่งสามารถนำไปใช้สร้างความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aphiprachayasakul, K. (2014). Guidelines to enhance the potential of logistics providers. Bangkok: Duangkamon.

Aphiprachayasakul, K. (2017). Readiness assessment guide for industry 4.0. Bangkok: Duangkamon.

Department of Business Development. (2017). Development of logistics and supply chain. Retrieved on March, 1, 2017, from https://www.dbd.go.th/

Fongsamut, T. (2016). The level of use the organization’s potential indicators. Thesis Master of Public Administration. Burapha University.

Geissbauer, R., & Team. (2014). Industry 4.0-Opportunities and Challenges of the Industrial Internet. Amsterdam: PWC.

Piyanusorn, P. (2016). Logistics development strategy between Thailand and Malaysia to Asean economics community. Dissertation Doctor of Management Science. Silpakorn University.

Russell, S. Roberta, & Taylor, W. Bernard. (2014). Operations and Supply Chain Management. (8th ed.). New York: Wiley