กลไกการสร้างความเข้มแข็งสวัสดิการชุมชนเมือง กรณีศึกษา ชุมชนชาวไทยเกาะกลาง ชุมชนชาวจีนโบ๊เบ๊ ชุมชนคริสต์กุฎีจีน และชุมชนมุสลิมมัสยิดกมาลุลอิสลาม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์
สิริยา รัตนช่วย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากลไกที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชนเมือง โดยเฉพาะชุมชนเมืองหลวง ในเขตกรุงเทพมหานคร และสามารถพัฒนาไป สู่การจัดสวัสดิการชุมชนเมืองได้อย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะสำคัญและรูปแบบการจัด สวัสดิการชุมชนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เกิดจากฐานวัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 3 กลุ่มหลักคือ 1) กลุ่มผู้นำจำนวน 16 คน 2) กลุ่มข้าราชการ เจ้าหน้าที่และพนักงานของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 4 คน 3) กลุ่มสมาชิกชุมชนทั้ง 4 ชุมชน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์กลุ่ม 4) การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) กลไกสำคัญของชุมชนเมืองที่เป็นกรณีศึกษา 4 ชุมชน ได้นำมาใช้และถือเป็นกลไกหลักร่วมกัน มี 5 กลไก ประกอบด้วยหลักศาสนาและความเชื่อสำคัญของแต่ละศาสนา ประเพณีและวันสำคัญของชุมชน ระบบเครือญาติ ศูนย์รวมจิตใจชุมชน และระบบเครือข่ายความสัมพันธ์ 2) รูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองที่สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนเมืองมี 7 รูปแบบ คือ สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านความปลอดภัย สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านการเงิน สวัสดิการชุมชน เมืองทางด้านสิ่งแวดล้อม สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านการศึกษา สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านนันทนาการ สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชนเมืองทางด้านความมั่นคงในการดำรงชีวิต ดังนั้น สรุปผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบรูปแบบสวัสดิการชุมชนเมืองที่เกิดขึ้น สามารถแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ สวัสดิการชุมชนเมืองที่ทุกชุมชนเมืองต้องการและเหมาะสมกับชุมชนที่มีฐานอัตลักษณ์ศาสนาทุกศาสนา 2 รูปแบบ คือ สวัสดิการชุมชนเมืองด้านความปลอดภัย และสวัสดิการชุมชนเมืองด้านการเงิน ส่วนสวัสดิการ ชุมชนเมืองด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นรูปแบบที่ปรากฏกับชุมชนที่ล้อมรอบด้วยลำคลองเป็นหลัก สำหรับสวัสดิการ ชุมชนเมืองด้านการศึกษาจะเป็นรูปแบบที่ปรากฏกับชุมชนคริสต์และชุมชนมุสลิม ส่วนสวัสดิการชุมชนเมือง ด้านนันทนาการจะเป็นรูปแบบที่โดดเด่นของชุมชนคริสต์และชุมชนชาวจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Academic Promotion and Support Office. (2012). Project to promote the model of social welfare that is suitable for the area Community Welfare Fund. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security.

Jaiboon, K. (2001). Research project for the development of a cultural source to be a source of learning and a source of income for the people: A case study of the KUDI-CHIN and near area. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Kardmanee, J. (2014). Community Welfare Management by the People in Bangkok: A Case Study of the Network of Community Welfare Fund of Kannayao District. Dissertation Doctor of Faculty of Liberal Arts. Krirk University.

Keeratinawanun, S. (2015). Process of Community Welfare on Chinese’s identity in Case of Bobae. Dissertation of Faculty of Social Administration. Thammasat University.

Keeratinawanun, S. (2015). The Strength of Community Welfare on Chinese’s Identity in Case of Bobae. Journals of Politics and Governance, Mahasarakham University, 5(2), 57-71.

Lyson, T. (2006). Big Business and Community Welfare. The American Journal of Economics and Sociology, 65(5).

Rattanachuay, S. (2017). Community Development in Dynamic of New Era. Journals of Politics and Governance, Mahasarakham University, 7(1), 72-87.

Rupkhumdee, V., Kerdmoli, C., & Khunakornsakul, S. (2007). Community Welfare Fund Network Integration Case study of Khlong Toei district Bangkok. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Touraine, A. (2001). Beyond Neoliberalism. London: Polity press.