Nekkhamma - Paṭipadā in Buddhist Texts

Main Article Content

Phra Srisuddhiphong Somsoun

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและคำสอนเรื่องเนกขัมมปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการการบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาในสังคมไทย


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. เนกขัมมปฏิปทามีความหมายสรุปได้ 3 อย่าง คือ 1) การออกบวช 2) หลักการปฏิบัติเพื่อออกจากกาม 3) ภาวะจิตที่ปลอดจากกาม คำสอนและหลักการบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทานี้มีทั้งในลัทธินอกพระพุทธศาสนา และในพระพุทธศาสนา เป็นหลักการปฏิบัติที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล มีความเกี่ยวข้องกับหลักธรรม เช่น เนกขัมมสุข เนกขัมมวิตก เนกขัมมสังกัปปะ นิกขัมมานิสังสกถา เนกขัมมบารมี การบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาเป็นประโยชน์ทั้งแก่ตัวผู้ปฏิบัติให้เป็นผู้ไม่ถูกกามครอบงำ และเป็นประโยชน์แก่สังคมช่วยให้คนในสังคมดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทันโทษของกาม

  2. การบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดกาม สรุปได้ 2 แนวทาง คือ 1) เนกขัมมปฏิปทาของนักบวชนอกศาสนา คือ การบวชดาบส (ฤษี, ชฎิล) และปริพาชกบางตน 2) เนกขัมมปฏิปทาในพระพุทธศาสนา คือ การบวชเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีและสิกขมานา บุคคลที่บำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาจนบรรลุผลสูงสุดละกามได้เด็ดขาด ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอนุพุทธเจ้า

  3. การบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาในสังคมไทยมีพัฒนาการมาจากสมัยพุทธกาล แต่มีแนวคิดและหลักการปฏิบัติบางอย่างได้พัฒนาขึ้นในสังคมไทย จำแนกได้ 2 อย่าง คือ 1) เนกขัมมปฏิปทาของบรรพชิต ได้แก่ การบวชเป็นภิกษุและสามเณร และ 2) เนกขัมมปฏิปทาของคฤหัสถ์ ได้แก่ การบวชชี (สตรีนุ่งห่มผ้าขาว, โกนผม, พักอยู่ที่วัดประจำ) อุบาสก-อุบาสิกา (นุ่งห่มผ้าขาว, ไม่โกนผม, อาศัยอยู่วัดเฉพาะตอนมาถือศีล) การบำเพ็ญเนกขัมมปฏิปทาในสังคมจะให้ความสำคัญแก่การออกบวชมาถือศีลอยู่ที่วัด จะไม่ค่อยเน้นที่การปฏิบัติสมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐานเพื่อละกามเหมือนในสมัยพุทธกาล

Article Details

บท
บทความวิจัย