คำสอนเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏในพิธีกรรม ทางพระพุทธศาสนามหายาน

Main Article Content

ทวีศักดิ์ คูวัฒนา
สุวิญ รักสัตย์
พระเมธาวินัยรส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพิธีกรรมของพระพุทธศาสนามหายาน 2) เพื่อศึกษา คำสอนเชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามหายาน 3) เพื่อบูรณาการพิธีกรรมของพระพุทธศาสนามหายาน ด้วยคำสอนเชิงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามหายาน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามหายานด้วยคำสอนเชิงสัญลักษณ์ ทางพระพุทธศาสนามหายาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิเคราะห์เอกสาร และ การ สัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมเป็นการประกอบพิธีที่นำไปสู่เป้าหมายทางใจเป็นสำคัญ พิธีกรรมใน พระพุทธศาสนามหายานประกอบขึ้นเพื่อสร้างศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์และแนวทางปฏิบัติตามอุดมคติ มหายาน สัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมเป็นกุศโลบายในการเผยแผ่คำสอนโดยเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหลักคำสอน สำคัญในพระพุทธศาสนา การบูรณาการสัญลักษณ์เชิงคำสอนพระพุทธศาสนามหายานในพิธีกินเจแฝงอยู่ในการบูชา พระพุทธเจ้าทั้ง 7 พระองค์และพระโพธิสัตว์อีก 2 องค์เป็นการดำรงตนให้เป็นไปตามองค์คุณของ พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ได้แก่ มหากรุณา มหาปัญญา และมหาอุบาย รวมถึงมหาบารมี มหาปณิธาน คำสอนเชิงสัญลักษณ์ในพิธีกรรมทั้งหมดสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ คือ การแปลงทุกกิจกรรมให้เป็นบุญ สั่งสมเกื้อหนุนเติมเต็มบารมี ไม่แบ่งแยกธรรมออกจากชีวิต ชีวิตอยู่กับกิจกรรม ทุกกิจกรรมเป็นบุญบารมี เรียกว่า “MMP” Model

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Gaewklai, C. (2004). Saddhampundarikasutra. Chinese Buddhi Monk Council in Thailand.

Komlithipong, K. (2007). Chinese Sangha Administration in Thailand. Dissertation Doctor of Bhuddhist Studies Program. Graduate School. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

leuam sai, S. (2014). Mahavastuavadana: Mahayana Scripture. Vol. 1-2. Sanskrit Foundation.

Phothananta, S. (1969). Mahayana Philosophy. Bangkok: Bannakan publisher.

Pantarangsee, S. (2000). Mahayana Buddhism. Bangkok: Sukkaphapjai publisher.

Ruksat, R. (2009). Mahayana Buddhism. Bangkok: Bangkokblog.