กระบวนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระนพสิทธิ์ สุทฺธจิตโต (ปิงยศ)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดหลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อ ศึกษากระบวนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัด ลำปาง 3) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดหลักธรรมาภิบาลในพระพุทธศาสนา คือ หลักธรรมวินัย มีความหมายว่า แนวทางหรือ หลักการที่จะนำไปสู่การปกครองที่เป็นธรรม ดีงาม ถูกต้อง ซึ่งผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครองยึดถือเป็น แบบแผนความประพฤติตามหลักธรรมสู่การปกครองที่ดีงาม 2) กระบวนการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า (1) มีการบริหารงาน โดยยึดถือตามกฎระเบียบที่ถูกต้อง (2) มีการบริหารงานด้วยหลักคุณธรรม (3) มีการบริหารงานด้วยความชัดเจนและโปร่งใส (4) มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วม ในการวางแผนยุทธศาสตร์ (5) มีการบริหารงานตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติ การ (6) มีการกำหนดเป้าหมายที่ยืดถือประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก 3) รูปแบบการเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่า มีรูปแบบ 4 ประการ คือ (1) การเสริมสร้างภาวะผู้นำตามหลัก ธรรมราชา (2) การเสริมสร้างบุคลากรขององค์กรตามหลักพุทธธรรม (3) การเสริมสร้างการบริหารจัดการ องค์กรตามหลักสังฆะ (4) การเสริมสร้างเป้าหมายขององค์กรตามหลักอัตถะประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Yodthong, A. (2015). An Analysis of Good Governance in Buddhism. Retrieved September 15, 2017, from http://oknation.nationtv.tv/blog/academic buddhism/2015/08/30/entry-3.

Kaew Koh Saba, A. (2005). Good governance and the right to freedom of the Constitution. Rattasapasarn. 53(10), 107-108.

Ban Auam Sub-district Administrative Organization. (2017). Strategic Plan. Retrieved February 20, 2017, from http://www.banauem.go.th/strategy1.php.

Chaicharoenwattana, B. and Lee, B. (2003). “Governance Indicators”. Research Report. 2nd edition. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

Jatadawan, C. (2004). Good Corporate Governance Planning. 2nd Edition. Bangkok: Fit Company Limited.

Thabchumpon, N. (2003). “Concept and Discourse on National Theology” In the article Good Governance and Corruption in Thai Society. Bangkok: Institute of Pathology.

Office of the Civil Service Commission. (2001). Guide to the Establishment of a Good Corporate Governance System. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.

Suwanmala, C. (2003). Weakness of the Way to Good Governance: The Role of Public Organization Board. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

The Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2560. (April 6, 2017). 134 (40)

The Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2560. (April 6, 2017). 134 (40) World Bank. (1989). Sub-Sahara Africa: From Crisis to Sustainable Growth. Washington DC: The World Bank.