ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

ภรดร ดุลณกิจ
สิรินธร สินจินดวงศ์
ชารี มณีศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมุล จากตัวอย่างที่เป็นครูประจำโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น รวม 500 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทุกปัจจัย โดยปัจจัย“การจัดการความรู้” มีค่าเฉลี่ยระดับเห็นด้วยมากในทุกปัจจัย โดยปัจจัย“การจัดการความรู้”  มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( =4.24)รองลงมา โครงสร้างองค์กร” (  = 4.21) และปัจจัย “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (  = 4.21) 2) ตัวแบบคุณลักษณะการเป็นองค์การนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลดังนี้ χ2=116.92, df=109, p=0.28477, χ2 / df =1.0727, GFI=0.98, AGFI=0.96,RMR=0.017,RMSEA=0.012, CN=618.00  และพบว่าการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกผ่านองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์กรนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2006). Formative versus reflective indicators in organizational measure development: A comparison and empirical illustration. British Journal of Management, 17(4), 263-282.

Eisinga R., Te Grotenhuis M., & Pelzer B. (2012). The reliability of a two-item scale: Pearson, Cronbach or Spearman-Brown. International Journal of Public Health, 58(4), 637-42.

Hair, Joseph, F., et al. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.) Harlow: Peasron Education Limited.

Jöreskog, K. G., & Sörbom, D. (1999). LISREL 8.30 for Windows (Computer software). Lincolnwood, IL: Scientific Software International.

Khonkaen Province Primary Education Area. (2016). 2016 Annual Report of Khonkaen Province Primary Education Area. Khonkaen: Khonkaen Province Primary Education Area.

Koohborfardhaghighi, S., & Altmann, J. (2017). How organizational structure affects organizational learning. Journal of Integrated Design and Process Science, 21(1), 43-60.

Morrison, K. (2009). Educational Innovation in Thailand: A Case Study. International Education, 38(2), 29-55.

Rhee, & Jaehoon, et al. (2017). Organizational structure and employees’ innovative behavior: The mediating role of empowerment. Social Behavior and Personality: An International journal, 45(9), 1523-1536.

Ronna, C.T., & Laurie, C. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163-171.

Sarder, R. (2016). Building an innovative learning organization: a framework to build a smarter workforce, adapt to change, and drive growth. NJ: John Wiley & Sons.

Shieh, C. (2012).The Effect of Knowledge Management on Organizational Performancefrom the aspects of learning Organizations. Pakistan Journal Of Statistics, 28(3), 395-408.

Saengmaneedech, T. (2015). An Innovative Organization Model for Human Resource Development in Thai Commercial Bank. Dissertation Doctor of in Development Education. Graduate School: Silapakorn University.

Volberda, H.W., & Van Den Bosch et al. (2013). Management Innovation: Management as Fertile Ground for Innovation. European Management Review, 10(1), 1–15.

Yan, Y. et al. (2013). Strategies, technologies and organizational learning for developing organizational innovativeness in emerging economies. Journal of Business Research, 66(12), 2507-2514.