บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อย่างยั่งยืนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ดำเกิง อัศวสุนทรางกูร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและบุพปัจจัยด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว คุณลักษณะ ของคนในท้องถิ่น นโยบายภาครัฐ และความพร้อมของหน่วยงานที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติ ศาสตร์อย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากประชาชนในเขตเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยาที่อยู่อาศัยบริเวณเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา รวมจำนวน 440 คน โดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติพรรณนา และแบบ จำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้บริหาร หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยว คุณลักษณะของคนในท้องถิ่น และการท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน อยู่ในระดับดีมาก ส่วนนโยบายภาครัฐ และความพร้อมของหน่วยงาน อยู่ใน ระดับดี 2) นโยบายภาครัฐมีอิทธิพลโดยรวมต่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืนมากที่สุด รองลง มา คือ ความพร้อมของหน่วยงาน และทรัพยากรการท่องเที่ยว ตามลำดับหากแต่คุณลักษณะของคนในท้อง ถิ่นไม่มีอิทธิพลแต่อย่างใด 3) แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน คือ บริหารจัดการ ด้านการท่องเที่ยวโดยมุ่งเป้าไปยังต้นทุนที่เป็นจุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัด พระนครศรีอยุธยาในความเป็นมรดกโลก โดยต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง สร้างการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกของคนในชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ตระหนักถึงความสำคัญ ของแหล่งโบราณสถาน พัฒนาเส้นทางคมนาคมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ให้เกิดความสะดวกและความ ปลอดภัย และสุดท้ายการบริหารจัดการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการไปในทิศทาง เดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angsukanjanakul, J. (2014). The Tourism Managerial Model for Sustainable Community

Floating Market in the Lower General Region. Sustainable Community Floating Market in the Lower General Region. Dissertation Doctor of Public Administration. Valaya Alongkorn Rajabhat University.

Department of Tourism. (2012). Thailand Tourism Situation B.E. 2555 and Future Direction. Bangkok: The Ministry of Tourism and Sports.

Esichaikul, R. (2014). Niche Tourism Management. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Jittangwattawa, B. (2005). Sustainable Tourism Development. Bangkok: Press and Design.

Muller, H. (1994). The theory path to sustainable tourism development. Journal of Sustainable Tourism, 2(3): 131-136.

Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial office. (2016). 4 Years Provincial Development Plan (2018-2012). Retrieved October 20, 2016, from www.ayutthaya.go.th/strategic/pnewall.php?selnews=24

Phrakrusangkarak Wuttthipong Wudฺdฺvamฺso. (2018). Development of Buddhist Temple in Thailand as Learning Sitse Enhancing Asean Tourism. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1594-1606.

Pookhumsak, N. (2018). The Administration Abandoned Temples in Bang Bal Districts. Journal of Arts Management, 2(3), 189-198.

Ritchie, J. (1988). Consensus Policy Formulation in Tourism. Tourism management, 9, 99-126.

Sharpley, R. (2009). Tourism Development and the Environment: Beyond Sustainability?. London: Earthscan.

Shirley, E. (1992). Beyond the Green Horizon, Principles for Sustainable Tourism. Surrey: World Wide Fund for Nature (WWF).

Swarbrooke, J. (1999). Sustainable Tourism Management. Oxon: CABI Publishing.

Tourism Canada. (1990). An Action Strategy for Sustainable Tourism Development: Globe’90. Tourism Canada, Ottawa.

Tourism Canada. (1990). An Action Strategy for Sustainable Tourism Development: Globe’90. Tourism Canada, Ottawa.

Warakunwit, S. (2015). Orientation to Tourism Industry. Bangkok: Waew waw Printing.

Wongkangwan, A. (2013). Antecedent and Loyalty of Foreign Tourists for Tourist Attractions in Bangkok Metropolitan Area. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 5(1), 85-99.